มีงานทำสำคัญกว่าเงินเดือนสูง

15 ม.ค. 2554
โดยประชาชาติธุรกิจ เมื่อ 15 ม.ค.2554

การมีงานทำที่รู้สึกภาคภูมิใจอาจสำคัญกว่ามีรายได้มากน้อยแค่ไหน
เดลี่ เทเลกราฟรายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติของ ประเทศอังกฤษ วิเคราะห์การตอบแบบสอบถามของชาวเมืองผู้ดีกว่า 2 พันคน พบว่า

- ความมั่นคงของอาชีพการงาน 
- สุขภาพและ
- ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว 

คือ 3 สิ่งที่กลุ่มตัวอย่าง 9 ใน 10 คนใส่ใจมากที่สุด

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังระบุว่า การมีงานทำสำคัญกว่าการได้รับเงินเดือนสูง ๆ


อนาสตาเซีย เดอ วาล นักวิเคราะห์นโยบายสังคมที่ศูนย์ซิวิทัส

กล่าวว่า หน้าที่การงานเป็นศูนย์กลางของชีวิตผู้คนในแง่การมีตัวตนและคุณภาพชีวิต

"งานเป็นเรื่องของความเป็นไปในชีวิตไม่ใช่รายได้" 

และเสริมด้วยว่า 

การมีงานทำเกี่ยวข้องกับทุกจังหวะก้าว ตั้งแต่

- การมีแรงจูงใจที่จะลุกขึ้นจากเตียงในตอนเช้า 
- ความภาคภูมิใจในตัวเอง 
- เป็นแบบอย่างที่ดีของลูก ๆ 

ส่วน รายได้เป็นปัจจัยรองลงมา

เดอ วาล ให้ความเห็นว่า

"หลายคนชีวิตพังทลายเมื่อไม่มีงานทำ และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าสูง อีกทั้งยังมีความเกี่ยวโยงอย่างเห็นได้ชัดระหว่างการว่างงานกับความแตกแยกในครอบครัวรวมถึงปัญหาสุขภาพ"

การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ริเริ่มจากแนวคิดของ

นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน 

ที่ต้องการหาตัวชี้วัดความสำเร็จของประเทศนอกเหนือจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ
Read more ...

คนนิรนาม ทำตามแนวหน้ากากเสือ ปลุกกระแสช่วยเด็กในญี่ปุ่น

13 ม.ค. 2554
เมื่อ 10 ม.ค.2554

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า หน้ากากเสือ การ์ตูนยอดฮิตในยุค 60 กลับมาปลุกกระแสทำดีในญี่ปุ่น หลังจากมีบุคคลนิรนามคนหนึ่ง เลียนแบบฮีโร่หน้ากากเสือ 
ด้วยการทิ้งกล่องของขวัญไว้ตามสถานสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาสหลายแห่ง ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมา

โดยการวางของขวัญไว้ตามสถานสงเคราะห์เด็ก ผู้บริจาครายนี้ไม่ได้ระบุนามจริงแต่อย่างใด เพียงแต่เขียนข้อความกำกับไว้ว่า ของขวัญดังกล่าวมาจาก 

นาโอโตะ ดาเตะ นักมวยปล้ำเจ้าของฉายาหน้ากากเสือ 

ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนยอดนิยมในญี่ปุ่นเมื่อ 50 ปีก่อน

หลังจากพฤติกรรมการบริจาคของให้เด็กโดยไม่หวังผลตอบแทน ได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วญี่ปุ่นตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ได้มีบุคคลนิรนามอีกหลายราย ที่เลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลนิรนาม "นาโอโตะ ดาเตะ" โดยพวกเขาได้นำกล่องบรรจุของเล่น เครื่องเขียน เงิน และอาหาร ไปวางไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่มีเด็ก ตั้งแต่สถานสงเคราะห์เด็กด้อยโอกาส ไปจนถึงร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียนเลยทีเดียว 

โดยบุคคลนิรนามรายหนึ่งได้ระบุข้อความไว้ว่า เขาเลียนแบบฮีโร่หน้ากากเสือ และตอนนี้ดูเหมือนว่าฮีโร่หน้ากากเสือจะมีอยู่ทั่วประเทศ กรุณานำเงินและสิ่งของนี้ไปใช้ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสด้วย

สำหรับ ฮีโร่หน้ากากเสือ เป็นการ์ตูนที่บอกเล่าเรื่องราวของนักมวยปล้ำคนหนึ่งชื่อ นาโอโตะ ดาเตะ ที่เติบโตขึ้นจากบ้านเด็กกำพร้า แล้วฝึกฝนมวยปล้ำกับฝ่ายอธรรม 
แต่ต่อมาเขาได้นำเงินที่ได้จากการปล้ำทั้งหมดไปช่วยเหลือเด็กกำพร้า และมีการต่อสู้กับฝ่ายอธรรมเพื่อนำเงินไปให้เด็กกำพร้าโดยตลอด
Read more ...

เตือนภัย คนรักความหวาน ระวังสมองเฉื่อย ความต้านทานต่ำ

11 ม.ค. 2554
โดยวอยซ์ทีวี เมื่อ 10 ม.ค.2554

คงเป็นข่าวร้ายพอสมควร สำหรับบรรดา "ชมรมคนรักความหวาน" ที่ชื่นชอบ "น้ำตาล" เป็นชีวิตจิตใจ เพราะผลวิจัยทางการแพทย์สรุปออกมาแล้วว่า มีภยันตรายที่แฝงเร้นอยู่ภายใต้ความหวานนั้นมากมายทีเดียว

แต่ที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือ เมื่อได้ตรวจสอบข้อมูลไปยังกระทรวงสาธารณสุขที่เฝ้าติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับการบริโภคน้ำตาลของคนไทยทำให้พบว่า ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการบริโภคน้ำตาลของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มเฉลี่ย

จาก คนละ 12 กิโลกรัมต่อปีในปี พ.ศ.2526 

กลายเป็น

คนละ 29 กิโลกรัมต่อปีในปี พ.ศ.2545
เรียกว่า เพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 2 เท่าตัว ซ้ำร้ายดัชนีที่เกิดขึ้นยังเป็นแนวโน้มเดียวกันกับการบริโภคน้ำตาลในรูปแบบขนม ลูกอมและเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ซึ่งปรากฏชัดเจนกับเด็กรุ่นใหม่ที่กระแสบริโภคถูกกระตุ้นโดยการโฆษณา

"จากข้อมูลทางโภชนาการและสุขภาพ เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินควร นอกจากนำมาซึ่งปัญหาโรคอ้วนและโรคฟันผุแล้วการรับประทานน้ำตาลมากๆ มีอันตรายต่อสุขภาพหลายประการโดยน้ำตาลซูโครสหรือฟรุกโตส จะทำให้ระดับไขมัน กลูโคส อินซูลินและกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและโรคเบาหวาน

"ผู้ที่ชอบกินหวานจัดบ่อยๆ จะทำให้ระบบความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายเสียไป ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายลดต่ำลง ผลที่ตามมาก็คือทำให้ติดเชื้อง่าย นอกจากนี้ 

การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อยๆ ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดอนุมูลอิสระ 

เมื่อบริโภคเป็นเวลานานจะก่อให้ ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง 

อีกทั้งการรับประทานน้ำตาลซูโครสมาก ทำให้

กรดอะมิโนที่มีชื่อว่า ทริปโตฟาน ถูกเร่งเข้าสู่สมองมากเกินไป 

ทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนในสมอง 

ผลที่ตามมาก็คือทำให้เกิด

อาการเซื่องซึม เหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง 

ซึ่งหากเป็นในเด็กจะทำให้เรียนไม่รู้เรื่องและหากเป็นวัยทำงานก็จะทำงานไม่มีประสิทธิภาพ" นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลถึงอันตรายจากการบริโภคน้ำตาล เมื่อติดตามพิษร้ายที่เกิดจากความหวานต่อไป ก็ทำให้ได้ข้อมูลอีกด้วยว่า การรับประทานอาหารรสหวานมากไป จะทำให้เด็กอิ่มและตัดโอกาสที่เด็กจะได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย

ผลการศึกษาในปี พ.ศ.2546 พบว่าเด็กกลุ่มอายุ 6-15 ปี ได้รับอาหารที่ให้พลังงานมากถึง 23 % สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 10 % กว่าเท่าตัว ตรงนี้บ่งชี้ว่า สถานการณ์การกินหวานในเด็กไทย อยู่ในขั้นที่ควรร่วมกันแก้ไขโดยด่วน

"ในความเป็นจริงนั้น การติดหวานสามารถถูกสร้างขึ้นตั้งแต่วัยเริ่มต้นของชีวิต โดยพ่อแม่และผู้ใหญ่เป็นกลุ่มแรกที่สร้างภาวะให้เด็กติดหวาน เนื่องจากบริโภคนิสัยของเด็กจะถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก เริ่มจากนมและอาหารเสริมที่ป้อนให้ เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กจะติดอาหารหวานและจะเพิ่มปริมาณความหวานมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากคนที่เคยชินรสหวาน เมื่อได้รสหวานสมองจะหลั่งสารชนิดหนึ่งเรียกว่าโอปิออยด์( Opioid) ออกมาทำให้เกิดความพอใจ และอยากกินหวาน ทำให้อ้วนได้เร็ว

ปลัดกระทรวงสาธารณสุขสรุปแผนการรณรงค์เพื่อให้เด็กไทยรอดพ้นจากการบริโภคความหวานมากเกินไปทิ้งท้ายว่ากระทรวง สาธารณสุขจะเร่งรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนในเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเริ่มจากส่งเสริมให้เด็กกินนมแม่แทนนมขวด 

พร้อมทั้งจะมีการประกวดโรงพยาบาลปลอดนมขวดทั่วประเทศ ส่งเสริมให้เด็กกินนมรสจืด แทนนมรสหวานหรือนมปรุงรส ส่งเสริมให้เด็กกินผลไม้ที่รสไม่หวานแทนการกินขนมหวาน และรณรงค์ให้งดการเติมน้ำตาลในก๋วยเตี๋ยว อีกทั้งให้งดการดื่มน้ำอัดลมและอมท๊อฟฟี่ด้วย
Read more ...

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget