ยาหลอก ใช้กันมากกว่าที่คิด

3 พ.ย. 2556
ที่มา http://www.gotoknow.org/posts/157456

ยาหลอก (placebo) เป็นยาที่ใช้มากในการศึกษาวิจัย โดยทำให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสันเหมือนยาจริง ไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด แคปซูล หรือยาน้ำ

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนไข้ที่ได้ "ยาหลอก" มักจะมีอาการดีขึ้นประมาณ 20-30% โดยไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดว่า เป็นผลจากความเชื่อถือในฝีมือหมอ เชื่อถือว่า "กินยาแล้วจะดี" หรือกลไกอื่นๆ

นักศึกษาแพทย์ราเชล เชอร์แมน ศาสตราจารย์ดอกเตอร์จอห์น ฮิคเนอร์ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นอายุรแพทย์ 231 คนที่ตอบแบบสอบถามกลับมาจากแบบสอบถามที่ส่งไป 466 ชุด

ผลการศึกษาพบว่า หมอเกือบครึ่งหรือ 45% ใช้ยาหลอกช่วยในการรักษาคนไข้ เช่น ให้วิตามินเม็ดทั้งๆ ที่คนไข้ไม่ได้ขาดสารอาหาร ฯลฯ โดยให้เหตุผลว่า ยาหลอกอาจจะช่วยได้ และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด

หมอส่วนน้อยมากหรือเพียง 12% กล่าวว่า ไม่ควรใช้ยาหลอก และควรบอกคนไข้ไปตรงๆ ว่า ไม่มียาที่ได้ผลสำหรับอาการนั้นๆ

ผู้เขียนมีประสบการณ์เรื่องยาหลอกของช่างหลายท่าน ซึ่งอาจเป็นผลจากบุญบารมี หรือความขลังบางประการของคนที่มีอาชีพช่าง

ตัวอย่างเช่น เวลาเครื่องใช้ไม้สอย โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เสียนี่... เวลาช่างมาลองเครื่องดูพบหลายครั้งว่า เครื่องมันมักจะกลัวช่าง ทำงานได้ดี

บ่อยครั้งที่ช่างไม่ทันได้ซ่อมอะไร แค่เครื่องเห็นช่างก็ยอมทำงานดีเสียแล้ว

เรื่องนี้คงจะหาคำอธิบายง่ายๆ ไม่ได้ เพราะบางทีอาจจะเป็นเพราะคนเรามีบุญ หรือมีบารมีต่างเรื่องกัน พยาบาลหรือหมอบางท่านนี่... มีบุญมาก พอคนไข้เห็นท่านแล้ว อาการก็ทุเลาลงไปมากเลย ช่างบางท่านมีบุญมาก แค่เครื่องไม้ใช้สอยเห็นช่าง อาการติดขัดก็คลายไปแทบจะในทันที

โลกเราก็เป็นเสียอย่างนี้เอง

ยาหลอก คืออะไร ทำไมแพทย์จึงต้องใช้ยาหลอกกับคนไข้ ใครบ้างต้องใช้ยาหลอก?? มีคำตอบ
สาระวิทยาศาสตร์รอบเช้าวันเมย์เดย์ครับ

ฤทธิ์ผลของยาหลอก

ฤทธิ์ผลจากยาหลอก เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ธรรมดาที่สุดที่เราพบเห็นได้ในทางการแพทย์
แต่มันก็ยังเป็นเรื่องราวที่ลึกลับและทรงพลังอยู่ในปัจจุบัน ยาหลอก หมายถึง น้ำตาลหรือแป้ง หรือสารที่ไม่ก่อเกิดขบวนการทางเภสัชในการรักษา ที่นำมาอัดแล้วเคลือบให้ดูเป็นเม็ดยาหรืออยู่ในแคปซูลหรือเตรียมเป็นยาฉีด ยาน้ำ หรือรูปแบบยาอื่นๆ ก็ได้แล้วนำมาใช้ในการแพทย์ จุดประสงค์ที่นำมาใช้ มีสองประเด็นหลัก คือ เพื่อจ่ายให้แก่คนไข้ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ดีขึ้นต่ออาการของตน บรรเทาอาการอาการเจ็บป่วยลงไป

นอกจากนี้ ยาหลอกยังถูกใช้เป็นตัวอ้างอิงเปรียบเทียบเพื่อคอนโทรลการทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบยา เพื่อให้ทราบประสิทธิภาพของยาจริง (ยาที่ออกฤทธิ์ตามกลไกเภสัชศาสตร์จริงๆ) ยาหลอกไม่เพียงแต่หมายถึง แป้ง,น้ำตาล ที่ทำเป็นรูปแบบยาต่างๆ เท่านั้น แต่ยังหมายถึงขบวนการทางแพทย์อีกด้วย เช่น การผ่าตัดที่ไม่ได้ผ่าตัดอวัยวะใดๆ อาจผ่าตัดเพียงผิวหนังเล็กน้อยไปบ้าง กรณีที่แพทย์ตรวจสภาพร่างกายคนไข้แล้วมีปฏิสัมพันธ์กับคนไข้เล็กน้อย พูดจาปลอบขวัญให้กำลังใจก็ถือว่าเป็นการให้ยาหลอกได้เหมือนกัน 

ได้มีการศึกษาวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า เมื่อให้ยาหลอกบำบัดรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีอาการต่างๆ เช่น เจ็บปวด,ความดันสูงและโรคหืดหอบ ผลปรากฏว่ามีคนไข้จำนวนร้อยละ 30-40 มีอาการดีขึ้น สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ (angina pectoris) คณะวิจัยได้ดำเนินการวางยาสลบและผ่าตัดผิวหนังคนไข้ออกไปเล็กน้อย ผลปรากฏว่า คนไข้อาการดีขึ้น ถึงร้อยละ 80 ต่อคำถามที่ว่า ทำไม แป้ง,น้ำตาลที่นำมาเป็นยาก็ดี การผ่าตัดหลอกๆ ก็ดีก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาได้อย่างไร

The Placebo Effect
ยาหลอกที่จะนำไปใช้ในการทดลองเป็นตัวอ้างอิงในการทดลองผลทางคลีนิคต้องหลอกทั้งผู้ทำการทดลองและผู้ถูกทดลองในภาพเหมือนยาจริงมากที่สุดต้องเป็นเม็ดยาแถวที่ 3 แถวบนสุดแม้นเม็ดยาเหมือนกันทั้งขนาดและสีแต่มีตัวอักษรพิมพ์บนเม็ดต่างกัน แถวกลางตัวอักษรเหมือนกันแต่ถ้าสังเกตด้านซ้ายขนาดเม็ดจะเล็กกว่า ส่วนรูปกราฟจากการศึกษาทดลองไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดหลอก
หรือการให้คำปลอบขวัญแก่คนไข้จะช่วยในการรักษาดีขึ้น
หลายๆ ท่านเชื่อว่าเป็นเรื่องของ จิตศาสตร์ ( psychological ) ที่ทำให้เกิดผลจริง เนื่องจาก
แรงศรัทธาของคนไข้หรือไม่ก็เป็นการสำคัญผิดคิดไปเอง ถ้าคุณเชื่อว่ายานั้นช่วยคุณได้มันก็จะช่วย ทั้งหมดมันขึ้นอยู่ที่จิตใจพลังแห่งความคาดหวังเมื่อมีขึ้นมาร่างกายก็จะผลิตสารฮอร์โมนที่เรียกว่า เอนเดอร์ฟีน (endorphine) ขับออกมา ในส่วนของระบบประสาทอัตโนมัติสมองเราจะกลั่นกรองรับรู้ข้อมูลสัมผัสอันตรายต่างๆ เช่น

ฮอร์โมน แอดรีนาริน / โดปามีน ,นอร์อิพิเนพฟีน ทำให้เราพุ่งพล่าน ตอบสนองสิ่งเร้าได้รวดเร็ว 

ขณะที่อารมณ์เชิงบวกของคนเราก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์, 

ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นมีการพัฒนาไอคิว 

เราจะพบเห็นสิ่งเหล่านี้ได้จากการทำสมาธิ จึงเกิดคำถามที่ว่าหากแพทย์เมื่อเห็นประโยชน์จากยาหลอกแล้วเจตนาสั่งจ่ายหลอกให้แก่คนไข้ ทั้งที่รู้ว่าไม่มีตัวยาจริงในการรักษาโรคอาการนี้จะถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมหรือไม่? คำตอบของข้อนี้อาจแสดงออกมาหลายๆแนวความคิด 

อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มแพทย์ได้แสดงความเห็นว่า ‘ในฐานะแพทย์แล้วเราควรจะเห็นคุณค่าของยาหลอกว่ามีความปลอดภัยมีประสิทธิภาพและราคาถูก ควรนำข้อได้เปรียบเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันให้ได้เต็มที่’
Read more ...

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget