ควรติคนอื่นหรือไม่

11 มิ.ย. 2552

ปัญหา คนบางคนถืออุเบกขา ไม่ยุ่งกับคนอื่น ไม่สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญโดยกาลอันควร ไม่ติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร เฉย ๆ เสียสบายดีเหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงเห็นอย่างไรในคนประเภทนี้ ?

พุทธดำรัสตอบ

“ดูก่อนโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ

ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

ผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร (แต่) ไม่
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑

ผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑

“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้

บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควรนี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”
Read more ...

ผู้เสียสละนั้นดีแล้วหรือ

11 มิ.ย. 2552
ปัญหาคนบางคนชอบสละเวลาของตนทำประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างเดียว เพิกเฉยละเลยประโยชน์ของตน ชาวโลกสรรเสริญว่าเป็นคนเสียสละ เห็นแก่ส่วนรวมควรได้รับการยกย่อง พระพุทธองค์ทรงยกย่องคนประเภทนี้อย่างไรหรือไม่ ?
พุทธดำรัสตอบ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก คือ

บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑

ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ๑

ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ๑
ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ๑

บรรดาบุคคล ๔ จะพวกนี้ บุคคลผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้วิเศษ เป็นประธาน อุดม และเป็นผู้ประเสริฐ”
Read more ...

ผู้กล้าเสียสละ

11 มิ.ย. 2552
สังคมจะมั่งคั่งอยู่กันสุขสมบูรณ์

เพราะมีผู้กล้าหาญเสียสละตนจริงจัง

สร้างประโยชน์เพื่อผู้อื่นอย่างจริงใจ

แม้ทำดีจริงได้แค่คนเดียว

ก็ช่วยเหลือผู้อื่นนับร้อยนับพันได้จริง

พราหมณ์ผู้หนึ่งเป็นชาวนครสาวัตถี ได้บวชถวายชีวิตอยู่ในพระพุทธศาสนา เมื่อบวชแล้ว ก็ได้ประพฤติวัตร(ข้อปฏิบัติ)ต่างๆอย่างจริงจัง ทั้งอาจริยวัตร(กิจที่ลูกศิษย์ควรปฏิบัติต่ออาจารย์) อุปัชฌายวัตร (กิจที่ผู้ได้บวชพึงกระทำแก่อุปัชฌาย์ผู้นำเข้าหมู่ อุปสมบทให้) แม้การตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ ทั้งวัตรในโรงอุโบสถ วัตรในเรือนไฟ เป็นต้น ก็กระทำเป็นอย่างดี กระทั่งพยายามกระทำให้บริบูรณ์ในมหาวัตรทั้ง ๑๔ และขันธกวัตรทั้ง ๘๐ ไม่ว่าจะเป็น การกวาดวิหาร กวาดบริเวณโรงตึกทางไปวิหาร แจกจ่ายน้ำดื่มแก่ผู้คนทั้งหลาย

ด้วยพฤติกรรมดังนี้ หมู่ชนจึงเลื่อมใสในความสมบูรณ์ด้วยวัตรของท่าน ต่างพากันถวายภัตร(อาหาร)ประจำ ประมาณวันละ ๕๐๐ ราย ลาภและสักการะเป็นอันมากจึงบังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ การเป็นอยู่อย่างผาสุกเกิดแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย ท่านนั่นเอง

อยู่มาวันหนึ่ง หมู่ภิกษุสงฆ์คุยกันเรื่องนี้ในธรรมสภา เมื่อพระศาสดาทรงทราบแล้ว ก็ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อนภิกษุนี้ก็เคยเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร ช่วยเหลือผู้อื่นให้สุขสำราญ เป็นอันมากมาแล้ว"

แล้วทรงนำเรื่องราวในครั้งนั้น มาตรัสเล่า

ในอดีตกาล มีพราหมณ์ผู้หนึ่งเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์(พราหมณ์ตระกูลสูง) ครั้นเติบโตเจริญวัยแล้ว ได้ออกบวชเป็น ฤๅษี มีบริวารอยู่ถึง ๕๐๐ บำเพ็ญเพียรกันที่เชิงเขาในป่าหิมพานต์

คราวนั้นเอง ในป่าเกิดความแห้งแล้งอย่างรุนแรง น้ำดื่มในที่บริเวณนั้นแห้งหายไปเกือบหมด เหล่าสัตว์ป่าทั้งหลาย เมื่อขาด น้ำดื่ม ต่างก็ได้รับความยากลำบากแสนสาหัส

ก็ในบรรดาฤๅษีในป่านั้น มีฤๅษีตนหนึ่ง เมื่อได้พบเห็นความทุกข์ยากกระวนกระวายของสัตว์ป่าทั้งหลายแล้ว อดเมตตา สงสารมิได้ จึงลงมือตัดต้นไม้มาทำเป็นราง เที่ยวไปแสวงหาตักวิดน้ำใส่ ให้เป็นที่ดื่มกินแก่สัตว์ทั้งหลาย

ฝูงสัตว์จำนวนมากจึงมารวมกันดื่มน้ำตรงนั้น ฤๅษีแม้จะตักน้ำมาเท่าไร ก็ไม่เพียงพอแก่ความต้องการเลย ทำให้แม้แต่โอกาส ที่ฤๅษีจะไปแสวงหาอาหารของตน ก็ไม่มีเวลา ท่านต้องถึงกับอดอาหาร เพื่อคอยตักน้ำอยู่นั่นเอง

ฝูงสัตว์เหล่านั้นตัวที่ฉลาดจึงคิดขึ้นว่า

"พระฤๅษีนี้เพียงตักน้ำดื่มให้แก่พวกเรา จนไม่ได้ไปหาพืชผักผลไม้ให้แก่ตัวเอง ต้องเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียอย่างยิ่ง เพราะอดอาหาร ไม่ช้าจะต้องหมดเรี่ยวแรงเป็นแน่ ฉะนั้นเห็นทีพวกเราจะต้องทำการกำหนดกันเสียแล้ว"

สัตว์เหล่านั้นจึงปรึกษาตกลงตั้งกติกากันว่า

"ตั้งแต่บัดนี้ หากผู้ใดมาดื่มน้ำที่นี่ จะต้องคาบผลไม้มาด้วย ตามสมควรแก่กำลังของตน"

นับแต่นั้นมา สัตว์ป่าแต่ละตัวก็พยายามคาบผลไม้รสดี เช่น ผลมะม่วง ขนุน เป็นต้น เอาตามกำลังความสามารถของตน เพื่อมามอบให้ฤๅษีเพียงผู้เดียว ซึ่งผลไม้กองรวมกันเข้าแล้ว ประมาณเทียบเท่าบรรทุกได้เต็มสองเล่มเกวียนครึ่งทีเดียว

ผลไม้มากมายประมาณนี้ ทำให้แม้ฤๅษีทั้ง ๕๐๐ ก็พลอยได้ขบฉันทั่วถึง แล้วยังเหลือทิ้งเสียไปอีกอันมาก ฤๅษีผู้เป็นอาจารย์เห็นอย่างนี้แล้ว ก็อุทานขึ้นว่า

"อาศัยเพียงฤๅษีผู้ถึงพร้อมด้วยการเสียสละแค่ผู้เดียว ก็สามารถช่วยฤๅษี ๕๐๐ ให้ยังอัตภาพไปได้ โดยไม่ต้องไปหาผลไม้จากที่ใดเลย

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตจึงควรพยายามร่ำไป ไม่ควรเบื่อหน่าย จงดูผลแห่งความพยายามเถิด ผลไม้ทั้งหลายที่มีให้บริโภคอยู่นี้ ก็ด้วยความพยายามทั้งนั้น ไม่ใช่ของที่มีมาได้เองเลย"

พระศาสดาทรงเล่าชาดกนี้จบแล้ว ก็ทรงกล่าวว่า

"ฤาษีผู้เสียสละในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรนี้เอง ส่วนฤาษีผู้เป็นอาจารย์ ก็คือเราตถาคตในบัดนี้"

- ณวมพุทธ -

(พระไตรปิฎกเล่ม ๒๗ ข้อ ๑๒๔

อรรถกถาแปลเล่ม ๕๖ หน้า ๔๘๐)

ดีแม้มีเพียงหนึ่ง

สุดซาบซึ้งถึงใจ

สละสุขของตนไป

มอบสุขให้ส่วนรวม
Read more ...

ผู้ยิ่งใหญ่ที่แท้จริง

4 มิ.ย. 2552
แหล่งที่มา : หิโตปเทศ, สำนักพิมพ์ศยาม, 2552

ในยามทุกข์ ใจหนักแน่น

ในยามสุข สงบเสงี่ยม

ในที่ประชุม พูดอาจอง

ในรณรงค์(สงคราม) ใจแกล้วกล้า

ในยศ ความนิยมยินดี

ในการศึกษา (ใส่)ความเพียร

ข้อเหล่านี้เป็นคุณสมบัติอยู่ครบของผู้มีจิตใจอันยิ่งใหญ่(มหาตมะ)
Read more ...

ประยุกต์ใช้กฎ 80/20 กับทุกสิ่ง

3 มิ.ย. 2552
หนังสือ คิดแบบกฎ 80/20 ออกวางจำหน่ายแล้ว เรียบเรียงโดย พันโทอานันท์ ชินบุตร ราคาปก 99 บาท

กฎ 80/20 เป็นกฎที่ช่วยเราได้มากที่สุดกฎหนึ่งในบรรดาแนวความคิดของการบริหารเวลาและชีวิต มันมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักปาเรโต้ ตามชื่อของบิดาแห่งหลักการนี้

ที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเต็มว่า

วิลเฟรโด้ ปาเรโต้ (Vilfredo Pareto) 

ซึ่งได้เขียนอธิบายหลักการนี้ไว้ตั้งแต่ปี 1895 หรือพุทธศักราช 2438 หรือ 110 ปีมาแล้ว ปาเรโต้ได้สังเกตว่าคนในสังคมของเขาดูเหมือน

จะแบ่งออกตามธรรมชาติออกเป็นสองกลุ่มซึ่งเขาเรียกว่า

“คนส่วนน้อยที่สำคัญมาก (vital few)”

อันเป็นกลุ่มคนที่มีปริมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ครอบครองความมั่งคั่งและมีอิทธิพลในประเทศ

และอีกกลุ่มหนึ่งคือ

“ส่วนมากที่สำคัญน้อย (trivial many)” 

ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรระดับล่างที่มีจำนวน

80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด

การค้นพบที่ยิ่งใหญ่

ต่อมาเขาได้ค้นพบว่า กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจทั้งหมดเป็นไปตามหลักปาเรโต้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

กฎข้อนี้กล่าวว่า

- กิจกรรมจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของคุณจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ 80 เปอร์เซ็นต์
- ลูกค้าจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของคุณจะทำให้คุณขายได้ 80 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายทั้งหมด
- สินค้าหรือบริการจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ของคุณจะก่อให้เกิดผลกำไร 80 เปอร์เซ็นต์ของผลกำไรทั้งหมด
- การงาน 20 เปอร์เซ็นต์ของคุณจะส่งผลที่มีคุณค่าในสิ่งที่คุณทำเป็นจำนวน 80 เปอร์เซ็นต์ และเป็นดังนี้เรื่อยไป

นั่นหมายความว่า หากคุณมีรายการของงานที่จะต้องทำอยู่สิบรายการแล้วละก็ งานสองงานในจำนวนนั้นจะกลายเป็นงานที่มีค่ามากเท่ากับหรือมากกว่าผลของงานอีกแปดงานรวมเข้าด้วยกัน

ผลลัพธ์ที่มากที่สุด

และการค้นพบที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ การงานแต่ละงานเหล่านี้อาจกินเวลาที่จะทำให้สำเร็จเท่าๆกัน

แต่งานเพียงหนึ่งหรือสองอย่างในจำนวนนี้จะให้คุณค่าดีกว่าห้าถึงสิบเท่าของงานอื่นๆที่เหลือ

คุณอาจไม่เชื่อ แต่บ่อยครั้งงานเพียงหนึ่งงานที่คุณต้องทำในจำนวนนั้นสามารถมีค่ามากกว่างานอีกเก้างานที่เหลือรวมกันเลย และงานนี้เองที่คุณควรจะต้องทำก่อนงานอื่นทันที

งานที่มีคุณค่ามากที่สุด

งานที่มีคุณค่ามากที่สุดที่คุณสามารถทำในแต่ละวันมันจะเป็นงานที่ยากและซับซ้อนมากที่สุด แต่ผลหรือรางวัลที่จะได้รับเมื่อคุณทำงานนั้นสำเร็จอย่างมีประสิทธิผลนั้นสามารถเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มหาศาลเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้เองที่คุณต้องไม่ยอมทำงานต่างๆที่ไม่สำคัญในส่วนของ80 เปอร์เซ็นต์ แล้วหันไปทำงานในกลุ่มสำคัญ

20 เปอร์เซ็นต์นั้นโดยเร็ว ก่อนที่คุณจะเริ่มทำงานในแต่ละวัน ให้ถามตัวเองเสมอว่า “งานนี้อยู่ในกลุ่มกิจกรรมสำคัญ 20 เปอร์เซ็นต์

ของฉันหรือว่าอยู่ในกลุ่ม 80 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สำคัญกันนะ”
เรามาเริ่มกันดีกว่า

สิ่งที่ยากที่สุดของงานที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นงานใดก็คือการเริ่มต้นก้าวออกไปก้าวแรก ครั้นเมื่อคุณเริ่มลงมือทำงานที่มีคุณค่างานไปแล้วจริงๆก็จะดูเหมือนว่าคุณอยากทำต่อโดยไม่หยุด มันมีส่วนของสมองและจิตใจของคุณบางส่วนที่ชอบการทำงานที่สำคัญยิ่งอย่างไม่วางมือ ซึ่งงานนี้เป็นงานที่สามารถสร้างความแตกต่างขึ้นมาได้จริง คุณจะต้องใส่ข้อมูลเช่นนี้เข้าไปในสมองของคุณอยู่ตลอดเวลาด้วยการทำงานชนิดนี้ทันที

บริหารชีวิตของคุณทุกวัน

แท้จริงแล้วการบริหารเวลาก็คือการบริหารชีวิต มันเป็นการบริหารตัวตนของคุณเอง คุณจะควบคุมเหตุการณ์ต่อเนื่องที่เกิดขึ้นได้ การบริหารเวลาเป็นการที่คุณรู้ว่าขั้นต่อไปคุณจะทำอะไร คุณต้องสามารถเลือกสิ่งที่สำคัญออกจากสิ่งที่ไม่สำคัญ และนั่นคือปัจจัยความสำเร็จที่เป็นกุญแจสำคัญของชีวิตและงานที่มีความสุขและรุ่งเรือง

คนที่ผลิตอะไรออกมาได้มากๆและมีประสิทธิผลจะทำอะไรอย่างสม่ำเสมอหรือเรียกได้ว่าเขามีวินัยในตนเองก็ได้ วินัยนี้นำไปใช้กับการทำให้ตัวเองลงมือทำงานที่สำคัญทันที นั่นทำให้เขาประสบความสำเร็จและมีความสุขมากกว่าคนอื่นๆทั่วๆไปอย่างมากมาย คุณเองก็ควรจะใช้ชีวิตเช่นนี้
แบบฝึกหัดลงมือปฏิบัติ

เขียนรายการเป้าหมายหลัก กิจกรรม โครงการ และความรับผิดชอบทั้งหลายทั้งปวงในชีวิตของคุณวันนี้

แล้วพิจารณาว่างานไหนอยู่ในส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ และงานไหนอยู่ในส่วน 80 เปอร์เซ็นต์ และส่งผลดี

80 เปอร์เซ็นต์ และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าคุณจะทำงาน 20 เปอร์เซ็นต์เหล่านี้ทุกวันเพื่อสร้างชีวิตอนาคตของคุณ

ด้วยการใช้เวลาที่น้อยลงๆกับงานที่มีคุณค่ามากขึ้นๆ
Read more ...

กฎ 80/20

3 มิ.ย. 2552
หลักการของ Pareto เป็นหลักการง่ายๆ แต่สามารถนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ดีนะครับ โดยเราจะต้องหาเจ้า 20% ให้เจอ และให้ความสำคัญกับส่วนนี้
Read more ...

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget