ดัชนีการพัฒนามนุษย์
11 ต.ค. 2552
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ
(The UN Human Development Index - HDI)
เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ
- ความยากจน
- การรู้หนังสือ
- การศึกษา
- อายุขัย
- การคลอดบุตร และ
ปัจจัยอื่น ๆ
ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน หลายคนใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศด้อยพัฒนา ดัชนีดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถานชื่อ มาฮฺบับ อุล ฮาค และองค์การสหประชาชาติได้ในดัชนีดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 (พ.ศ. 2536) เป็นต้นมา
ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลัก ๆ ได้แก่
1. การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัย
2. ความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็นสองในสามส่วน) และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา (มีน้ำหนักเป็นหนึ่งในสามส่วน)
3. มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP)
ในแต่ละปี รัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะถูกจัดอันดับตามดัชนีนี้ ประเทศที่ได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว (เช่น กรณีของนายฌอง เครเตียง อดีตนายกรัฐมนตรีของแคนาดา) เพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น (เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ในทางเศรษฐกิจ) หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก
อย่างไรก็ดี องค์การสหประชาชาติยังมีวิธีการวัดความยากจนในแต่ละประเทศอีกด้วย โดยการใช้ดัชนีความยากจนมนุษย์ (Human Poverty Index)
ประเทศไทยอันดับ 63 ของโลก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น