โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์
[10 กรกฎาคม 2551 09:31 น
ครั้งหนึ่งชื่อเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (พคม.) ถูกกล่าวขวัญถึงกันค่อนโลก ด้วยวีรกรรมการต่อสู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากมีการจัดตั้งพรรคในปี พ.ศ.๒๔๗๓ ขณะที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้สมาชิกพรรคพยายามแทรกซึมเข้าไปในกลุ่มกรรมกร และเยาวชนในมาเลเซีย กระทั่งเกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น พคม. จึงได้ดำเนินนโยบายต่อต้านญี่ปุ่นอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับการต่อต้านอังกฤษ ซึ่งปกครองมาเลเซียหรือ 'มลายู' อยู่ในขณะนั้น
ตอนที่ญี่ปุ่นยาตราทัพเข้ายึดครองมาเลเซีย พคม. ได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นโดยมีการฝึก และหลบซ่อนตัวอยู่บริเวณป่าเขาภาคกลางของมาเลเซีย เรียกตัวเองว่า
'กองทัพประชาชนมาลายา เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น' (Malayan People's Anti - Japanese Army)
ขณะนั้นอังกฤษ ซึ่งไม่อาจต้านทานกองทัพญี่ปุ่นมีข้อตกลงกับ พคม. ในระยะสุดท้ายของสงครามผ่านทาง ลอร์ด เมาท์แบทแทน ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสัมพันธมิตร โดยอังกฤษให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ แก่ฝ่าย พคม. เพื่อทำการต่อสู้ขับไล่ญี่ปุ่น
ต่อมาเมื่ออังกฤษได้กลับมาปกครองมาเลเซียเช่นเดิมเมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ทำให้สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง ภายใต้ข้อตอบแทนบางประการ รัฐบาลอังกฤษสั่งยุบเลิกขบวนการประชาชนมาลายาต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ๒๔๘๘ และพรรคคอมมิวนิสต์กลายเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายทันที
แต่ในปี ๒๔๙๑ พคม. ได้หวนกลับมาใช้วิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธอีกครั้ง เพื่อหวังสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนมาลายาให้สำเร็จ โดยเรียกชื่อกองกำลังของตนเองว่า
'กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งมาลายา' (Malayan National Liberation Army)
จนถูกทางรัฐบาลอังกฤษปราบปรามอย่างรุนแรง ถึงขั้นประกาศภาวะฉุกเฉินในมาเลเซีย ซึ่งยืดเยื้ออยู่ถึง ๑๒ ปี มาสงบลงหลังจากมาเลเซียสถาปนาเป็นประเทศเอกราชได้ ๓ ปี คือเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๐๓
จากนั้นเป็นต้นมา พคม. ส่วนหนึ่งได้เข้ามาหลบอาศัยอยู่ในป่าพรมแดนระหว่างมาเลเซีย และประเทศไทย ถึงขั้นมีการประสานใช้กำลังฝ่ายไทย-มาเลเซีย ตามแผนปราบปรามร่วม 'แหลมทอง' ในปี ๒๕๐๖ ในพื้นที่ จ.สงขลา จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ซึ่งเวลานั้นคาดกันว่ากองกำลังฝ่าย จคม.คงเหลืออยู่ไม่มากแล้ว แต่จำนวนสมาชิกได้เพิ่มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๒ เมื่อจากเกิดการจลาจลทางเชื้อชาติในมาเลเซีย
โดยข้อเท็จจริงแล้วขณะใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศไทยเป็นจุดเคลื่อนไหว พลพรรค พคม. พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยให้มากที่สุด แต่ด้วย 'การเมืองภายใน' ที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง พคม. ที่เคลื่อนไหวในเขต อ.เบตง จ.ยะลา ระหว่างปี ๒๕๑๓-๒๕๑๗ จึงมีการแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม ๓ พวก คือ พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา พวกที่ ๑ กรม ๘ มี
อี้เจียง
เป็นหัวหน้า พวกที่ ๒ คือพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา เขต ๒ มี
จาง จง หมิง
เป็นหัวหน้าพรรค (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) และพวกที่ ๓ ประกอบด้วยพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐, กรม ๑๒, เขตพิเศษ, กองพิเศษ/เขตผสม มี
จีน เป็ง
เป็นหัวหน้า และรองคือ
'อาเฉิน'
ซึ่งเคยรักษาการเลขาธิการพรรคแทน จีน เป็ง
จุดเปลี่ยนการต่อสู้ของ พคม. เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ เมื่อมีการลงนามสัญญาสันติภาพ ๓ ฝ่ายที่โรงแรมลีการ์เด้น อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จนกลายมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย อันเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ประกาศใช้คำสั่งที่ ๖๖/๒๕๒๓ ในการต่อสู้ เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนแนวทางใช้การปราบปรามควบคู่กับการเจรจาอย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ โดยเวลานั้น
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งบัญชาการทหารบก และรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ
พล.ต.กิตติ รัตนฉายา ดำรงตำแหน่ง ผบ.พล.ร.5/ผบ.กกล.ผสม ฉก.ไทย
พคม.กลุ่มแรกคือ จคม.กรม ๘ กลุ่มของ
บุญชัย แซ่อึ้ง หรือ อี้ เจียง
ทยอยออกมารายงานตัวตั้งแต่วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๐ ต่อมาวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๐ จคม.กลุ่มที่ ๒ คือ จคม.เขต ๒ กลุ่มของ
หยี เจียน แซ่เซียว (จาง จง หมิง)
และกลุ่มสุดท้าย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดได้เข้ารายงานตัว พร้อมกับมีพิธีลงนามสัญญาระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลมาเลเซีย โดยฝ่ายไทยเป็นพยาน ส่วน พคม. นำโดย
จีน เป็ง
ในที่สุด พคม. กลายมาเป็น 'ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย' โดยสมบูรณ์ โดยมีบางส่วนสมัครใจกลับไปอาศัยอยู่ฝั่งประเทศมาเลเซีย แต่ส่วนใหญ่อาศัยแผ่นดินไทยเป็นถิ่นพักอาศัย ซึ่งการแตกแยกของ พคม. เป็น ๒ กลุ่มกันก่อนหน้านี้ ต่อมามีผลต่อการจัดตั้งหมู่บ้าน กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มบ้านปิยะมิตร และอีกกลุ่มคือที่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ช่วงที่ผ่านมามีความพยายามเชื่อมประสานทางความรู้สึกโดยผู้นำที่มากบารมีในพื้นที่ และได้รับการยอมรับจากทั้ง ๒ ฝ่าย คือ
คุณวุฒิ มงคลประจักษ์ นายกเทศมนตรีเมืองเบตงคนปัจจุบัน
ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มากด้วยฝีมือสามารถพลิกฟื้นเมืองเบตงให้เป็นสวรรค์ของทุกผู้คน และผสานให้เกิดเอกภาพในความหลากหลายได้อย่างดีเยี่ยม
วันที่ ๒๘-๒๙ มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมการจัดงาน 'รำลึก ๖๐ ปีการต่อต้านอังกฤษของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา' ซึ่งจัดกันที่
เมืองอิโปห์ รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย
มีอดีตสมาชิก พคม. จากทั่วประเทศมาเลเซีย รวมทั้งฝั่ง อ.เบตง จ.ยะลา เข้าร่วมด้วยกว่า ๕๐๐ คน โดยแม่งานหลักของการจัดงาน ประกอบด้วย ๓ กลุ่มสำคัญ คือ ชมรมศตวรรษที่ ๒๑, ชมรมสมาชิกเก่า และชมรมฝู่หวังในประเทศมาเลเซีย
บรรยากาศงานที่ได้ไปสัมผัสนั้น แทบทุกคนกลายเป็นคนสูงวัยกันไปหมดแล้วหลังผ่านการต่อสู้ในป่าเขานับหลายสิบปี ถึงวันนี้สาระที่ถูกเน้นย้ำคือ การรำลึกความหลัง และยกย่องนักต่อสู้ทุกคนในฐานะวีรชนที่ต่อสู้กับผู้รุกราน และท้ายสุดคือสรุปบทเรียนว่า สงครามนั้นแท้แล้วมีแต่จะนำมา ซึ่งความสูญเสีย ความเจ็บปวด ฯลฯ ไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น ดังที่
ชั้ย เจิ้น ฟุ หรือ 'หนานจุน'
ประธานชมรมศตวรรษที่ ๒๑ อดีตสมาชิก พคม. ระดับผู้นำกรม กล่าวสรุปไว้ว่า อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งอดีตเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ว่าสงครามการต่อสู้เป็นสิ่งเจ็บปวด หากเลี่ยงได้ควรจะเลี่ยงเสีย
ด้วยฐานะที่ประวัติการต่อสู้ของอดีต พคม. ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ สะท้อนแง่มุมต่างๆ ได้มากมาย โอกาสที่ปี ๒๕๕๒ จะครบรอบ ๒๐ ปีการลงนามสัญญาสันติภาพ ๓ ฝ่าย ไทย-มาเลเซีย และพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา จึงมีความพยายามที่จะนำมาเรียงร้อยเป็นเรื่องราว เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงการจัดงานรำลึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ โดยแกนนำประสานคือ เอกชัย วาฑิตศุภผล หรือ 'ผู้ใหญ่โก๊ะ' ผู้ใหญ่บ้าน บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ ต..อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา ผู้นำรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ความสามัคคีในแผ่นดิน
'อาเฉิน' อดีต ๑ ใน ๕ เสือผู้นำระดับสูงสุดของ พคม. ปัจจุบันอายุ ๙๐ ปีพำนักอยู่ที่
บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐
ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ และพูดคุยด้วย ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในขณะนี้ โดยกล่าวเพียงว่าทุกวันนี้วางมือเรื่องการเมืองหมดแล้ว แต่ให้แง่คิดว่าเห็นด้วยว่าบทเรียนทั้งหมดของ พคม. และผู้เกี่ยวข้อง ควรจะถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการก่อสันติภาพถาวรในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือจากบุคคลทุกฝ่าย
"ต้องเน้นเรื่องราวจากที่เกิดสงครามแล้วนำมาสู่สันติภาพ เป้าหมายสูงสุดคือการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน ไร้ ซึ่งการใช้ความรุนแรงมาต่อสู้ห้ำหั่นอีกต่อไป" อาเฉิน ให้แง่คิดเรื่องหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการถอดบทเรียน พคม. กับระยะเวลา ๒๐ ปีแห่งการ 'ร่วมพัฒนาชาติไทย' เพื่อก่อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง
Read more ...
[10 กรกฎาคม 2551 09:31 น
ครั้งหนึ่งชื่อเสียงของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (พคม.) ถูกกล่าวขวัญถึงกันค่อนโลก ด้วยวีรกรรมการต่อสู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากมีการจัดตั้งพรรคในปี พ.ศ.๒๔๗๓ ขณะที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทำให้สมาชิกพรรคพยายามแทรกซึมเข้าไปในกลุ่มกรรมกร และเยาวชนในมาเลเซีย กระทั่งเกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น พคม. จึงได้ดำเนินนโยบายต่อต้านญี่ปุ่นอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับการต่อต้านอังกฤษ ซึ่งปกครองมาเลเซียหรือ 'มลายู' อยู่ในขณะนั้น
ตอนที่ญี่ปุ่นยาตราทัพเข้ายึดครองมาเลเซีย พคม. ได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นโดยมีการฝึก และหลบซ่อนตัวอยู่บริเวณป่าเขาภาคกลางของมาเลเซีย เรียกตัวเองว่า
'กองทัพประชาชนมาลายา เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น' (Malayan People's Anti - Japanese Army)
ขณะนั้นอังกฤษ ซึ่งไม่อาจต้านทานกองทัพญี่ปุ่นมีข้อตกลงกับ พคม. ในระยะสุดท้ายของสงครามผ่านทาง ลอร์ด เมาท์แบทแทน ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพสัมพันธมิตร โดยอังกฤษให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ แก่ฝ่าย พคม. เพื่อทำการต่อสู้ขับไล่ญี่ปุ่น
ต่อมาเมื่ออังกฤษได้กลับมาปกครองมาเลเซียเช่นเดิมเมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม ทำให้สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง ภายใต้ข้อตอบแทนบางประการ รัฐบาลอังกฤษสั่งยุบเลิกขบวนการประชาชนมาลายาต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ๒๔๘๘ และพรรคคอมมิวนิสต์กลายเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายทันที
แต่ในปี ๒๔๙๑ พคม. ได้หวนกลับมาใช้วิธีการต่อสู้ด้วยอาวุธอีกครั้ง เพื่อหวังสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนมาลายาให้สำเร็จ โดยเรียกชื่อกองกำลังของตนเองว่า
'กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งมาลายา' (Malayan National Liberation Army)
จนถูกทางรัฐบาลอังกฤษปราบปรามอย่างรุนแรง ถึงขั้นประกาศภาวะฉุกเฉินในมาเลเซีย ซึ่งยืดเยื้ออยู่ถึง ๑๒ ปี มาสงบลงหลังจากมาเลเซียสถาปนาเป็นประเทศเอกราชได้ ๓ ปี คือเมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๐๓
จากนั้นเป็นต้นมา พคม. ส่วนหนึ่งได้เข้ามาหลบอาศัยอยู่ในป่าพรมแดนระหว่างมาเลเซีย และประเทศไทย ถึงขั้นมีการประสานใช้กำลังฝ่ายไทย-มาเลเซีย ตามแผนปราบปรามร่วม 'แหลมทอง' ในปี ๒๕๐๖ ในพื้นที่ จ.สงขลา จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ซึ่งเวลานั้นคาดกันว่ากองกำลังฝ่าย จคม.คงเหลืออยู่ไม่มากแล้ว แต่จำนวนสมาชิกได้เพิ่มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๒ เมื่อจากเกิดการจลาจลทางเชื้อชาติในมาเลเซีย
โดยข้อเท็จจริงแล้วขณะใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศไทยเป็นจุดเคลื่อนไหว พลพรรค พคม. พยายามหลีกเลี่ยงการปะทะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยให้มากที่สุด แต่ด้วย 'การเมืองภายใน' ที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดระหว่าง พคม. ที่เคลื่อนไหวในเขต อ.เบตง จ.ยะลา ระหว่างปี ๒๕๑๓-๒๕๑๗ จึงมีการแยกออกเป็น ๒ กลุ่ม ๓ พวก คือ พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา พวกที่ ๑ กรม ๘ มี
อี้เจียง
เป็นหัวหน้า พวกที่ ๒ คือพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา เขต ๒ มี
จาง จง หมิง
เป็นหัวหน้าพรรค (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) และพวกที่ ๓ ประกอบด้วยพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา กรม ๑๐, กรม ๑๒, เขตพิเศษ, กองพิเศษ/เขตผสม มี
จีน เป็ง
เป็นหัวหน้า และรองคือ
'อาเฉิน'
ซึ่งเคยรักษาการเลขาธิการพรรคแทน จีน เป็ง
จุดเปลี่ยนการต่อสู้ของ พคม. เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๒ เมื่อมีการลงนามสัญญาสันติภาพ ๓ ฝ่ายที่โรงแรมลีการ์เด้น อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จนกลายมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย อันเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้ประกาศใช้คำสั่งที่ ๖๖/๒๕๒๓ ในการต่อสู้ เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนแนวทางใช้การปราบปรามควบคู่กับการเจรจาอย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ โดยเวลานั้น
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ดำรงตำแหน่งบัญชาการทหารบก และรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ
พล.ต.กิตติ รัตนฉายา ดำรงตำแหน่ง ผบ.พล.ร.5/ผบ.กกล.ผสม ฉก.ไทย
พคม.กลุ่มแรกคือ จคม.กรม ๘ กลุ่มของ
บุญชัย แซ่อึ้ง หรือ อี้ เจียง
ทยอยออกมารายงานตัวตั้งแต่วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๐ ต่อมาวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๓๐ จคม.กลุ่มที่ ๒ คือ จคม.เขต ๒ กลุ่มของ
หยี เจียน แซ่เซียว (จาง จง หมิง)
และกลุ่มสุดท้าย ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดได้เข้ารายงานตัว พร้อมกับมีพิธีลงนามสัญญาระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลมาเลเซีย โดยฝ่ายไทยเป็นพยาน ส่วน พคม. นำโดย
จีน เป็ง
ในที่สุด พคม. กลายมาเป็น 'ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย' โดยสมบูรณ์ โดยมีบางส่วนสมัครใจกลับไปอาศัยอยู่ฝั่งประเทศมาเลเซีย แต่ส่วนใหญ่อาศัยแผ่นดินไทยเป็นถิ่นพักอาศัย ซึ่งการแตกแยกของ พคม. เป็น ๒ กลุ่มกันก่อนหน้านี้ ต่อมามีผลต่อการจัดตั้งหมู่บ้าน กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มบ้านปิยะมิตร และอีกกลุ่มคือที่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ช่วงที่ผ่านมามีความพยายามเชื่อมประสานทางความรู้สึกโดยผู้นำที่มากบารมีในพื้นที่ และได้รับการยอมรับจากทั้ง ๒ ฝ่าย คือ
คุณวุฒิ มงคลประจักษ์ นายกเทศมนตรีเมืองเบตงคนปัจจุบัน
ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่มากด้วยฝีมือสามารถพลิกฟื้นเมืองเบตงให้เป็นสวรรค์ของทุกผู้คน และผสานให้เกิดเอกภาพในความหลากหลายได้อย่างดีเยี่ยม
วันที่ ๒๘-๒๙ มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมการจัดงาน 'รำลึก ๖๐ ปีการต่อต้านอังกฤษของพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา' ซึ่งจัดกันที่
เมืองอิโปห์ รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย
มีอดีตสมาชิก พคม. จากทั่วประเทศมาเลเซีย รวมทั้งฝั่ง อ.เบตง จ.ยะลา เข้าร่วมด้วยกว่า ๕๐๐ คน โดยแม่งานหลักของการจัดงาน ประกอบด้วย ๓ กลุ่มสำคัญ คือ ชมรมศตวรรษที่ ๒๑, ชมรมสมาชิกเก่า และชมรมฝู่หวังในประเทศมาเลเซีย
บรรยากาศงานที่ได้ไปสัมผัสนั้น แทบทุกคนกลายเป็นคนสูงวัยกันไปหมดแล้วหลังผ่านการต่อสู้ในป่าเขานับหลายสิบปี ถึงวันนี้สาระที่ถูกเน้นย้ำคือ การรำลึกความหลัง และยกย่องนักต่อสู้ทุกคนในฐานะวีรชนที่ต่อสู้กับผู้รุกราน และท้ายสุดคือสรุปบทเรียนว่า สงครามนั้นแท้แล้วมีแต่จะนำมา ซึ่งความสูญเสีย ความเจ็บปวด ฯลฯ ไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น ดังที่
ชั้ย เจิ้น ฟุ หรือ 'หนานจุน'
ประธานชมรมศตวรรษที่ ๒๑ อดีตสมาชิก พคม. ระดับผู้นำกรม กล่าวสรุปไว้ว่า อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งอดีตเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ว่าสงครามการต่อสู้เป็นสิ่งเจ็บปวด หากเลี่ยงได้ควรจะเลี่ยงเสีย
ด้วยฐานะที่ประวัติการต่อสู้ของอดีต พคม. ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ สะท้อนแง่มุมต่างๆ ได้มากมาย โอกาสที่ปี ๒๕๕๒ จะครบรอบ ๒๐ ปีการลงนามสัญญาสันติภาพ ๓ ฝ่าย ไทย-มาเลเซีย และพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา จึงมีความพยายามที่จะนำมาเรียงร้อยเป็นเรื่องราว เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงการจัดงานรำลึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ โดยแกนนำประสานคือ เอกชัย วาฑิตศุภผล หรือ 'ผู้ใหญ่โก๊ะ' ผู้ใหญ่บ้าน บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ ต..อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา ผู้นำรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ความสามัคคีในแผ่นดิน
'อาเฉิน' อดีต ๑ ใน ๕ เสือผู้นำระดับสูงสุดของ พคม. ปัจจุบันอายุ ๙๐ ปีพำนักอยู่ที่
บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐
ซึ่งผู้เขียนมีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ และพูดคุยด้วย ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงสถานการณ์ที่กำลังเกิดในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในขณะนี้ โดยกล่าวเพียงว่าทุกวันนี้วางมือเรื่องการเมืองหมดแล้ว แต่ให้แง่คิดว่าเห็นด้วยว่าบทเรียนทั้งหมดของ พคม. และผู้เกี่ยวข้อง ควรจะถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการก่อสันติภาพถาวรในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือจากบุคคลทุกฝ่าย
"ต้องเน้นเรื่องราวจากที่เกิดสงครามแล้วนำมาสู่สันติภาพ เป้าหมายสูงสุดคือการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ปัจจุบันให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน ไร้ ซึ่งการใช้ความรุนแรงมาต่อสู้ห้ำหั่นอีกต่อไป" อาเฉิน ให้แง่คิดเรื่องหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการถอดบทเรียน พคม. กับระยะเวลา ๒๐ ปีแห่งการ 'ร่วมพัฒนาชาติไทย' เพื่อก่อประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง