Wikileaks.org เวบไซต์เปิดเผยความลับที่ไม่ถูกต้องในสังคมโลกแห่งนี้

27 ก.ค. 2553
โดย กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ เมื่อ 4 ก.ค.2551

ถ้าคุณมีความลับอยากจะบอก แต่ไม่รู้จะไปบอกใครดี ที่นี่เป็นที่สำหรับคุณ!!!

 นี่ไม่ใช่เว็บไซต์ธรรมดาๆ ทั่วไป ทั้งในแง่รูปแบบและเนื้อหา โดยรูปแบบของเว็บเป็นการนำระบบของ Wikipedia หรือสารานุกรมออนไลน์ชื่อดังมาใช้ ทำให้ใครก็ตามสามารถเข้าไปแก้ไขบทความหรือเนื้อหาได้ตลอดเวลา

ส่วนความไม่ธรรมดาในแง่ของเนื้อหานั้นก็คือ ที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความลับต่างๆ ปัญหาความไม่ชอบธรรม เรื่องราวการคอร์รัปชั่น หรือเรื่องที่สาธารณชนควรรับรู้ โดยอาจเป็นข้อมูลของรัฐบาล ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ความลับทางการทหาร ไม่เว้นแม้กระทั่งความลับขององค์กรทางศาสนา

เว็บไซต์ที่ว่านี้มีชื่อว่า Wikileaks.org ซึ่งเปิดตัวมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2007 หรือเป็นเวลา 18 เดือนแล้วที่สมาชิกใน Wikileaks ได้เข้ามาเผยแพร่บทความเปิดโปงความลับและเรื่องอื้อฉาวต่างๆ จนเป็นที่กล่าวขวัญกันไปทั่วโลก ขณะเดียวกันก็ถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลในหลายประเทศแล้วเช่นกัน เพราะเว็บไซต์นี้เปิดรับข้อมูลจากทั่วโลก โดยเน้นประเทศในเอเชีย ละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกา และกลุ่มประเทศที่เคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียต

เรื่องแรกที่นำมาเปิดโปงตั้งแต่ก่อนเปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการก็คือ การปล้นชาติในประเทศเคนยา ด้วยอำนาจการบริหารของอดีตประธานาธิบดี Daniel Arap Moi ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็ได้สร้างความวุ่นวายในระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่กำลังจะเกิดขึ้นพอสมควร

ถัดมาเป็นการเปิดโปงปฏิบัติการควบคุมตัวนักโทษในคุกของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวกวนตานาโม โดย Wikileaks ระบุว่าสหรัฐมีนโยบายซ่อนตัวนักโทษบางคน จากการช่วยเหลือขององค์การกาชาดสากล รวมทั้งยังมีการใช้สุนัขในการข่มขู่นักโทษอีกด้วย

บทความต่างๆ เหล่านี้สร้างความไม่พอใจแก่กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นการนำความลับสุดยอดทางทหารมาเปิดเผย ขณะที่ Julian Assange หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Wikileaks บอกว่านี่เป็นเรื่องที่ทุกคนมีสิทธิ์รับรู้ถึงความไม่ชอบธรรมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกิดในประเทศของตัวเอง นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลความลับและความไม่ชอบธรรมในประเทศต่างๆ อีกนับร้อยประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

Julian เป็นชาวออสเตรเลียโดยกำเนิด แต่ขณะนี้อาศัยอยู่ในแอฟริกา นอกจากเขาจะเป็นผู้ก่อตั้ง Wikileaks แล้ว Julian ยังเป็นนักเขียนและแฮคเกอร์อีกด้วย ซึ่งเหตุนี้เองที่อาจจะทำให้เว็บไซต์แห่งนี้อยู่รอดปลอดภัยจากการปิดกั้นเสรีภาพในการเผยแพร่ข้อมูลมาจนถึงทุกวันนี้

เจ้าของชื่อ Wikileaks ที่แท้จริงนั้นอาศัยอยู่ในเคนยา แต่เจ้าตัวกลับไม่รู้เรื่องเว็บไซต์แห่งนี้มากนัก ส่วนเซิร์ฟเวอร์ก็ดูเหมือนจะตั้งอยู่ในประเทศสวีเดน แต่จริงๆ ยังมีเซิร์ฟเวอร์สำรอง (mirror) ตั้งอยู่มากมายทั่วโลก แม้กระทั่ง Ben Laurie ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยของ Wikileaks และยังเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาของเว็บ ก็ยังไม่รู้ว่าเซิร์ฟเวอร์ที่แท้จริงตั้งอยู่ที่ไหนกันแน่ และใครเป็นผู้ดูแลเว็บนอกเหนือจากผู้ก่อตั้งอย่าง Julian

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่สมาชิกทั่วโลกต่างยอมรับในการรักษาความลับได้เป็นอย่างดีของ Wikileaks จึงนำเรื่องราวต่างๆ มาเผยแพร่กันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทีมงานพบว่าหลายครั้งมีบทความที่ไม่น่าเชื่อถือปะปนอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่ง Julian ก็กำลังพิจารณาว่าจะเลิกใช้ระบบ Wiki ดีหรือไม่ และจะเปลี่ยนมาเผยแพร่บทความก็ต่อเมื่อเรื่องที่สมาชิกส่งเข้ามาได้รับการพิสูจน์ความจริงแล้วเท่านั้น

“เวลานี้เป็นยุคของนักสื่อสารมวลชนและนักเคลื่อนไหวต่างๆ ที่จะได้เผยแพร่ข้อมูลได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ หรือไม่ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองอีกต่อไป คุณลองนึกถึงโลกที่รัฐบาลหรือบริษัทคอยดูแลประชาชนและพนักงานบริษัทให้อยู่กันอย่างมีความสุขสิ นั่นคือโลกที่เรากำลังสร้างให้มันเป็นจริงขึ้นมา”

แม้วันนี้ Julian จะวาดฝันไว้อย่างสวยหรู แต่ยังไม่มีใครรับประกันได้ว่า Wikileaks จะอยู่รอดปลอดภัยไปได้นานเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็นเว็บไซต์ที่มีแนวคิดและอุดมการณ์อันสร้างสรรค์และน่ายกย่องไม่น้อย ในสภาวะมีความไม่ชอบธรรมและทุจริตเกิดขึ้นไปทั่วทุกหัวระแหง
Read more ...

Outliers โดย Malcolm Gladwell

26 ก.ค. 2553

โดย สฤณี อาชวานันทกุล www.fringer.org ในประชาชาติธุรกิจ เมื่อ 22 ม.ค.2552

ในชีวิตคนเราทุกคนคงมีมากกว่าหนึ่งครั้งที่จะอดคิดไม่ได้ว่า เพื่อนหรือคนใกล้ตัวที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงคนนั้นช่างโชคดีเหลือเกินที่เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์หรือมันสมองเหนือมนุษย์ที่ฟ้าประทานมาให้ เราคงต้องตายแล้วเกิดใหม่ถ้าอยากจะทำได้อย่างนั้นบ้าง

Outliers ผลงานล่าสุดของ Malcolm Gladwell นักเขียนหนังสือเบสต์เซลเลอร์เรื่อง The Tipping Point (และเล่มต่อชื่อ Blink ซึ่งสนุกน้อยกว่ากันมาก) จะทำให้ "คนธรรมดา" อย่างเราๆ ท่านๆ ทุกคนรู้สึกมีกำลังใจขึ้นบ้างว่า จริงๆ แล้วความสำเร็จในชีวิตไม่จำเป็นต้องใช้อะไรมากไปกว่าระดับสติปัญญาที่ "สูงพอ" ระดับหนึ่ง บวกด้วยความขยันหมั่นเพียรแบบเดียวกับที่พ่อแม่ทุกคนพร่ำสอนลูก ประกอบกับสถานการณ์ "เป็นใจ" ที่ทำให้ความขยันนั้นส่งผลดีเป็นทวีคูณ

Outliers เป็นหนังสืออ่านสนุกที่เต็มไปด้วยตัวอย่างน่าสนใจและสรุปงานวิจัยล่าสุดในสาขาสังคมวิทยาและจิตวิทยาสังคม ในทำนองเดียวกับที่ทำให้ The Tipping Point ได้รับความนิยมอย่างสูง ใน Outliers ผู้ประพันธ์คือ Gladwell ชี้ให้เห็นว่า ชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็น "ผลผลิต" ของบริบททางสังคม ภูมิศาสตร์ และสถานการณ์ พอๆ กับที่มันเป็นผลผลิตของเจตจำนงและอิสรภาพในฐานะปัจเจกชน กระทั่งปีเกิดและเดือนเกิดของเราก็มีความหมาย Gladwell แสดงให้เห็นว่า "พรสวรรค์" นั้นสำคัญน้อยกว่า "พรแสวง" ในการกำหนดว่าเราจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น แม้กระทั่งอัจฉริยะอย่าง Wolfgang Amadeus Mozart หรือโปรแกรมเมอร์ระดับ "เทพ" อย่าง Bill Joy ก็ต้องใช้เวลาเท่ากันกับคนธรรมดา คือกว่า 10,000 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ในการฝึกซ้อมสิ่งที่พวกเขาถนัด ก่อนที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" ในสาขานั้นๆ

ตัวอย่างที่ผู้เขียนชอบเป็นพิเศษคือเรื่องราวของ The Beatles วงดนตรีร็อกในตำนานของอังกฤษ Gladwell อธิบายว่า จุดเปลี่ยนที่ทำให้ The Beatles เล่นเข้าขากันได้อย่างน่าทึ่งคือตอนที่พวกเขาถูกส่งไปแสดงในบาร์เขตเที่ยวผู้หญิงติดต่อกันหลายคืนในเมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี ต้องเล่นดนตรีคืนละหลายชั่วโมง พยายามดึงดูดความสนใจของลูกค้าบาร์ที่เดินเข้าๆ ออกๆ ตลอดเวลา เป็นโอกาสที่ทำให้ทุกคนในวงได้ฝึกฝนการแสดงสดอย่างหนักหน่วงและเคี่ยวกรำจนเข้าขากันได้ ราวกับเปลี่ยนเป็นคนละวงเมื่อพวกเขาเดินทางกลับอังกฤษ Gladwell ยกตัวอย่างเหล่านี้เพื่อบอกว่า คนเราสามารถประสบความสำเร็จได้แทบทุกคน ถ้าเราตระหนักว่าความสำเร็จเป็นเรื่องของความขยันมากกว่าความสามารถเฉพาะตัวที่ฟ้าดินมอบให้ตั้งแต่เกิด เราอาจต้องใช้เวลามากกว่าอัจฉริยะอย่าง Mozart ก่อนที่จะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเราหมั่นฝึกฝนจนครบ 10,000 ชั่วโมง ความสำเร็จก็น่าจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

แต่บริบททางสังคมและโชคก็มีส่วนกำหนดเหมือนกันว่าเรามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด หลังจากที่เรามุมานะฝึกฝนจนครบ 10,000 ชั่วโมงแล้ว ยกตัวอย่างเช่น นักธุรกิจผู้บุกเบิกวงการไอทีของอเมริกา เช่น Bill Gates, Steve Jobs และ Bill Joy ล้วนเกิดระหว่างปี 1953-1956 ซึ่งหมายความว่า พวกเขาเติบโตเป็นวัยรุ่นในยุคที่คอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลาได้ (time-sharing computer คือไม่ใช่แบบตอกบัตรแล้วต้องรอเวลาประมวลผลหลายชั่วโมง) เริ่มมีใช้ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยบางแห่ง และพวกเขาก็โชคดีที่ได้ฝึกเขียนโปรแกรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ก่อนใครเพื่อน ทำให้มีแนวโน้มสูงกว่าคนอื่นว่าจะประสบความสำเร็จในวงการเกิดใหม่ที่กลายเป็นแมสในไม่กี่ปีต่อมา

อีกกรณีหนึ่งที่ Gladwell หยิบมาเล่าอย่างสนุกสนานใน Outliers คือความสำเร็จของบริษัทกฎหมายธุรกิจของทนายเชื้อชาติยิวในกรุงนิวยอร์ก รุ่นที่จบปริญญาไปเป็นทนายหลังช่วงเศรษฐกิจถดถอยรุนแรง (Great Depression ในทศวรรษ 1930) โดย Gladwell เล่าว่า ก่อนราวทศวรรษ 1970 ภาคการเงินของอเมริกาคือ Wall Street ดูถูกการซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร (hostile takeover) ว่าเป็นพฤติกรรมที่สุภาพบุรุษไม่ทำกัน และในขณะเดียวกันสำนักงานกฎหมายดังๆ ในเมืองก็ไม่อยากว่าความคดีเหล่านี้เพราะมองว่า "ต่ำต้อย" เกินไปสำหรับพวกเขา และไม่ค่อยว่าจ้างทนายเชื้อสายยิวเพราะมองว่าไม่ใช่ "ชนชั้น" เดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทนายชาวยิวหลายคนจึงต้องร่วมกันก่อตั้งสำนักงานกฎหมายขึ้นมาเอง ว่าความคดีที่ทนายคนอื่นๆ มองว่าต่ำต้อย ดังนั้นเมื่อสภาพการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไป ภาคธุรกิจเริ่มมองการซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตรว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการขยายธุรกิจที่ไม่มีอะไรเสียหาย สำนักงานกฎหมายของทนายเชื้อสายยิวหลายแห่งจึงรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วและมีงานทำไม่ขาดมือ เพียงเพราะว่าพวกเขาได้สั่งสมประสบการณ์มาแล้วมากมายในสาขาบูมซึ่งเคยเป็นที่รังเกียจของ "ทนายผู้ดี" ในทศวรรษก่อนหน้านั้น

นอกจากจะพิสูจน์ให้เห็นว่าบริบททางสังคมมีความสำคัญเพียงใดต่อชีวิตคนแล้ว Gladwell ยังชี้ให้เห็นว่าภาครัฐหรือโรงเรียนสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายในทางที่จะช่วยเหลือผู้โชคร้ายที่เสียเปรียบจากบริบททางสังคมได้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรารู้การกำหนดวันหมดเขตคัดตัวนักเรียนเข้าทีมกีฬานั้น ทำให้เด็กที่เกิดต้นปีได้เปรียบเด็กที่เกิดปลายปี (เพราะเด็กที่เกิดต้นปีตัวใหญ่กว่า จึงมีโอกาสเล่นกีฬาได้ดีกว่าเด็กที่เกิดปลายปี) เราก็สามารถแก้ไขความได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมนี้ได้ด้วยการเปลี่ยนกฎการรับสมัคร ถ้าเรารู้ว่าลำดับขั้นทางสังคมและภาษาที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีนั้น ทำให้กัปตันเครื่องบินไม่ได้รับคำเตือนทันเวลา และดังนั้นจึงเพิ่มความเสี่ยงสำหรับผู้โดยสาร บริษัทก็สามารถจ้างคนนอกให้ฝึกฝนและฝึกอบรมพนักงานเสียใหม่ แบบที่สายการบิน Korean Airlines ทำ และท้ายที่สุด Gladwell เสนอว่า ถ้าเด็กชาวอเมริกันโดยเฉพาะในเขตยากจนในตัวเมืองเรียนไม่ทันเพื่อนร่วมชั้นชาวเอเชีย โรงเรียนก็ควรพิจารณาขยับขยายระยะเวลาของปีการศึกษาออกไปให้นานกว่าเดิม

แน่นอนว่าใครก็ตามที่ชื่นชอบส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างการเล่าเรื่องราวกับหลักวิชาสังคมศาสตร์ใน The Tipping Point จะต้องชอบ Outliers - หนังสือดีอ่านสนุกที่จะเปิดโลกและเปิดใจผู้อ่านให้ตระหนักอีกครั้งหนึ่งว่า การถกเถียงกันว่านิสัยและแบบแผนของชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับอะไรมากกว่ากัน ระหว่างพันธุกรรมกับการเลี้ยงดูนั้น บางทีอาจจะเป็นการถกเถียงที่ไร้คำตอบและไม่สำคัญเท่าไรนักในภาพรวม เพราะท้ายที่สุดแล้วชีวิตของคนเราทุกคนย่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและการเลี้ยงดูเพียงสองอย่างเท่านั้น หากขึ้นอยู่กับการกระทำของตัวเราเองเป็นสำคัญ :D (หน้าพิเศษ D-Life)
Read more ...

ความคิด อ.นิธิ ในสถานการณ์เสื้อแดงเรียกร้องสิทธิ

18 ก.ค. 2553
- ประเทศไทยไม่ใช่สังคมเกษตรหมือนอดีต แต่เป็นสังคมอุตสาหกรรมและการบริการ

- เกษตรที่อยู่ในภาคเกษตร ก็เป็นการผลิตเพื่อขาย มิใช่ผลิตเพื่อบริโภคเอง

- เกษตรกร เรียกได้ว่าเป็น คนชั้นกลางระดับล่าง

- ทุกคนอยากให้ลูกมีการศึกษา อยากให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ และดอกเบี้ยไม่แพง

- คนชั้นกลางระดับกลาง ไม่ได้อยู่ดีกินดีเหมือนก่อนปี 40

- จึงพากันพุ่งเป้าไปที่การคอรัปชั่น หรือเรียกร้องให้หยุดโกงกิน

- เริ่มตั้งแต่ปี 2525 50% อยู่ในเมือง เทศบาลก็รวมในนั้น

- จึงบริโภคสื่อ เข้าอยู่ในเมือง ข่าวสารมากมายจึงได้รับรู้

- ชนชั้นต้องสืบทอดสู่ลูกหลายได้

- 9% จนดักดาน 6 ล้านไม่มีงานชัดเจน ภาคการเกษตร รอฤดูกาล

- คนชั้นกลางไม่ใช่แค่ต้องการให้ลูกไปได้ไกลกว่าตัวเอง

- รายได้ไม่เพียงพอกับการศึกษา ไม่เหมือนสมัยพ่อแม่ที่อยู่สุขสบายกว่า

- อเมริกาคล้ายไทย แต่ไม่เหมือนซะทีเดียว เพราะแทรกขึ้นไปอยู่ระดับบนได้ แต่ไทยไม่เปิดโอกาส

- ทักษิณ จับคนระดับกลางกลุ่มนี้ได้ ไม่ใช่คนจนจริง ๆ เพราะเหลืออยู่น้อยแล้วคนลักษณะนั้น

- สุดท้ายทักษิณ ไม่ฟังคนกรุงเทพฯ

- เป็นการทำลายอำนาจของคนชั้นกลางระดับบน และกลางใน กทม. ที่เคยควบคุม กทม.

- การต่อรองของชนชั้นกลางระดับล่างเพื่อให้มีส่วนร่วมบ้าง

- สู้ได้ทุกกรณีทั้ง สภา,สหภาพ และท้องถิ่น

- กรณีเขื่อนปากมูล รัฐสภาไทยไม่เคยเข้าไปตรวจสอบดูในพื้นที่เลย

- ฝรั่งเศส ประชาชนมีการต่อรองตลอด เกษตรกรสามารถนำสินค้ามาเททิ้งได้เลย ทำมากว่า 100 ปีแล้ว

- ไม่มีพื้นที่สื่อของคนชั้นล่าง

- ม็อบคือพื้นที่แสดงออกและต่อรองของคนชั้นล่าง

- ไม่เชื่อว่า ใครจะคิดแทนคนอื่นได้ในเรื่อง รธน.

- รธน.อเมริกา เป็นการตกลงระหว่างเจ้าของที่ดิน กับรัฐบาลว่า ท้องถิ่นมีอำนาจใหญ่กว่า

- อดีตไทย เป็นการต่อรองระหว่าง ชนชั้นสูง กับชนชั้นกลางระดับบน ที่ทำแทนสถาบันกษัตริย์

- แต่ทำในอำนาจปวงชนชาวไทยเท่านั้น

- สถาบันกษัตริย์ไทย ไม่ใช่อย่างอดีตอีกแล้ว อย่าสับสนนำ ร.1 หรือ ร.5 มาอ้างมาใช้ในยุคปัจจุบัน

- อยู่ภายใต้ รธน. แล้วต้องปรับตัว แต่คงให้เหมือน อังกฤษไม่ได้เลย เพราะทำมาร้อยปีแล้ว

- การพูดของราชินีอังกฤษ ก็แค่การพูดไป อ่านไป ตามประเพณี

- แต่ใครจะโจมตีว่าพูดโง่ ๆ ไม่ได้

- ธรรมเนียมเข้าไปคุยกับนายกฯ อาทิตย์ละครั้ง แต่ไม่มีเรื่องสั่ง ก็แค่คุยต่อเนื่อง ดังเช่นหนังเรื่อง อลิซาเบธ

- เป็นปกติที่มีเงิน มีอำนาจ จึงขอแยกทรัพย์สินออกมา ในสมัย ร.7

- สฤษดิ์ เปลี่ยนไม่ให้สภาคุมวัง สภาอนุมัติ

- ราชการควรให้ท้องถิ่นช่วยจัดการ เพราะรัฐบาลกลางทำไม่ทั่วถึงแน่นอน

- ศาล ถ่วงดุลกัน ขอหมายจับจากศาล ถูกต้องแล้ว แต่ต้องซักไซ้ให้ดีก่อนออกหมายจับ

- รีวิวคำพิพากษาสามารถทำได้

- ภาษีต้องเก็บเท่าเทียมกัน ฝรั่งยิ่งรวยยิ่งอยากจ่าย คนไทยยิ่งรวย ยิ่งอยากเบี้ยวภาษี
Read more ...

นักฟุตบอลคิดอย่างไร

16 ก.ค. 2553
ตารางคะแนน ไม่เคยโกหกใคร
Read more ...

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget