เด็กไทยสร้างชื่อก้องโลกอีกแล้ว คว้าแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัย โลก 2009 เป็นสมัยที่ 4 ด้วยผลงานโดดเด่นโดนใจผู้ชมทั้งสนาม ทำคะแนนนำตลอดตั้งแต่รอบคัดเลือกจนถึงรอบชิงชนะเลิศ แซงหน้าทีมจากญี่ปุ่นและอิหร่าน แม้แต่ต่างชาติยังยกนิ้ว ชื่นชมความสามารถเยาวชนไทย ด้านผู้บังคับหุ่นยนต์เผยเคล็ดลับในการคว้าแชมป์ เพราะทำงานเป็นทีม และมีการสรุปผล-วิเคราะห์คู่แข่งในทุกรอบ เพื่อมาปรับปรุงหุ่นยนต์กู้ภัยให้มีสมรรถนะสูงขึ้นเรื่อยๆ
เยาวชนไทยประกาศศักดามีฝีมือไม่แพ้ชาติใดในโลกในครั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ว่า ในการจัดการแข่งขันเวิลด์ โรโบคัพ เรสคิว 2009 ที่เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย ปรากฏว่าทีมหุ่นยนต์กู้ภัยไทย
iRAP_PRO คว้าแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยโลกได้อีกครั้ง
ทั้งนี้ นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงาน สื่อสารองค์กร เอสซีจี ในฐานะผู้สนับสนุนการแข่งขันหุ่นยนต์ กู้ภัยไทย ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
ทีมเยาวชนไทย iRAP_PRO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สามารถคว้าแชมป์โลก หุ่นยนต์กู้ภัยได้อย่างสง่างาม นับเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ที่ทีมเยาวชนไทยครองอันดับที่ 1 ในเวทีหุ่นยนต์กู้ภัยโลก การแข่งขันครั้งนี้ iRAP_PRO สามารถค้นหาผู้ประสบภัย ได้สูงสุดถึง 38 ราย โดยทำคะแนนนำเป็นที่ 1 ตลอดทุกรอบ การแข่งขัน ทิ้งห่าง
รองแชมป์ คือ ทีมญี่ปุ่น Pelican United ซึ่งค้นหาผู้ประสบภัยได้ 33 ราย
ส่วนอันดับสาม คือ ทีม MRL จากอิหร่าน
อันดับสี่ คือ ทีมญี่ปุ่น Shinobi รวมกับทีมสวีเดน RRT UPPSALA และ
อันดับห้า คือทีมออสเตรเลีย CASualty
นางวีนัส กล่าวอีกว่า รู้สึกยินดีและชื่นชมในความสามารถของเด็กไทยอย่างยิ่ง ความสำเร็จในครั้งนี้ ทำให้ ต่างชาติทึ่ง และยอมรับในความสามารถของเยาวชนไทยมากขึ้น ต้องยอมรับว่าเด็กไทยของเราเก่งจริงๆ สามารถเอาชนะคู่แข่ง ซึ่งเป็นทีมมืออาชีพและมีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับของโลก ทั้งเยอรมนี สวีเดน สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น นอกจาก ความสามารถของทุกคนในทีมแล้ว iRAP_PRO ยังมีความ ตั้งใจและความมุ่งมั่นสูงมากที่จะนำชัยชนะกลับประเทศไทย
"จากความสามารถของทีมไทยในเวทีระดับโลก ทำให้ทีมต่างชาติอยากจะมาประชันฝีมือกับเด็กไทยเอสซีจีและสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย จะจัดการแข่งขัน ไทยแลนด์ เรสคิว โรบอต แชมเปียนชิพ ที่ประเทศไทย ในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งทีมที่ตอบรับ แล้ว ได้แก่ ทีมจากประเทศญี่ปุ่น อิหร่าน ออสเตรเลีย เยอรมนี สวีเดน โดยมีกรรมการตัดสินจากเวิลด์ โรโบคัพ เรสคิว คอมมิตตี เพื่อยกระดับมาตรฐานการแข่งขันของไทยสู่ระดับโลก และเป็นการเปิดเวทีให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถ ที่สำคัญจะส่งผลให้ไทยได้พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป" นางวีนัสกล่าว
ด้าน ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเป็นแชมป์ หุ่นยนต์กู้ภัยโลกเป็นสิ่งที่ท้าทาย แต่การรักษาแชมป์โลกสมัยที่ 4 เป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่า เพราะคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ มีความสามารถและความพร้อมสูง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ทีมไทย iRAP_PRO คว้าแชมป์โลกอีกครั้ง ทำสถิติ 4 ปีติดต่อกัน คือ
การเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันครั้งนี้ อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่บังคับด้วยมือ 2 ตัว ที่ออกแบบให้สามารถข้ามเครื่องกีดขวางได้ในทุกสภาพผิว หมุนได้ 360 องศา มีแขนกลติดกล้องที่ยืดความยาวได้กว่า 1.5 เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพค้นหาผู้ประสบภัยได้เหนือคู่แข่ง อีกทั้งยังมีตัวเซ็นเซอร์ที่วัดอุณหภูมิค้นหาผู้ประสบ ภัยได้อย่างแม่นยำ ส่วนหุ่นยนต์อัตโนมัติ 1 ตัว ใช้ระบบสายพานในการขับเคลื่อนเพื่อค้นหาผู้ประสบภัยได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีสมรรถนะไม่แพ้ทีมที่มีเทคโนโลยีสูงอย่างญี่ปุ่น และสวีเดน
ขณะที่
นายคฑาวุฒิ อุชชิน หรือน้องโฟม
นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ
ผู้บังคับหุ่นยนต์ทีมไทย iRAP_PRO เปิดเผยถึงชัยชนะในครั้งนี้ว่า เพราะมีการทำงานเป็นทีม และหลังการแข่งขันทุกรอบ ก็จะมาสรุปผล และวิเคราะห์ คู่แข่งเพื่อวางกลยุทธ์ รวมทั้งเขียนโปรแกรม และปรับปรุงหุ่นยนต์ให้เหมาะกับสนามการแข่งขันในรอบต่อไป ทำให้ หุ่นยนต์กู้ภัยของเรามีสมรรถนะสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการที่ทีมไทยคว้าแชมป์โลกมา 3 ปีซ้อน จึงต้องลดความกดดัน ด้วยการทุ่มเทและเตรียมความพร้อมก่อนมาแข่งขันมากกว่า 6 เดือน โดยทีมงานแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันเป็นอย่างดี ทำให้สามารถทำงานภายในเวลาอันสั้นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนตนทำหน้าที่เป็นผู้บังคับหุ่นยนต์ ก็ต้องหมั่นฝึกซ้อมให้เสมือนว่าหุ่นยนต์เป็นอวัยวะส่วนหนึ่ง ของร่างกาย
ทั้งนี้ รายชื่อของทีมแชมป์หุ่นยนต์กูภัยนี้ ได้แก่
นายคฑาวุฒิ อุชชิน
นายสุรเชษฐ์ อินเทียม
นายณัฐกร แซ่เอี้ยว
นายธีรวัฒน์ เบ็ญจวิไลยกุล
นายสุธี คำใจคง และ
นายภราดร ทับทิมแดง
ทั้งหมดเป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สำหรับการแข่งขันเวิลด์ โรโบคัพ เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
หุ่นยนต์กู้ภัย (โรโบคัพ เรสคิว)
หุ่นยนต์ฟุตบอล (โรโบคัพ ซอคเกอร์)
หุ่นยนต์ทำงานบ้าน (โรโบคัพ แอต โฮม) และ
หุ่นยนต์ระดับเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี (โรโบคัพ จูเนียร์)
โดยในปี 2009 นี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-5 กรกฎาคม ที่เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย มีผู้สมัครเข้าแข่งขันหุ่นยนต์ทุกประเภทกว่า 300 ทีม จากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก โดยการแข่งขันประเภทเวิลด์ โรโบคัพ เรสคิว หรือหุ่นยนต์กู้ภัยโลก ทีมเยาวชนไทยได้เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกใน พ.ศ.2548 และได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศโดยคว้าแชมป์โลกติดต่อกันมาเป็นปีที่ 4 โดย
พ.ศ.2549 และ 2550 แชมป์โลกจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ.2551 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และล่าสุด
พ.ศ.2552 จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น