ธุรกิจไทยสู้โลก : เกียรติศักดิ์ จีรเธียรนาถ
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546
ความจริงผมยังไม่ค่อยอยากนำเรื่อง การล้มละลายของบริษัท มาพูดในท่ามกลางบรรยากาศที่รัฐบาล และภาคเอกชน ต่างมุ่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
และผมเองก็พยายามส่งเสริมในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพื่อในการมองชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวิตของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม หรือ SME นั้น นับว่า ภัยรอบด้านกว่าจะอยู่รอดและเจริญเติบโต ดังเช่นที่เราดูหนังสารคดีของดิสคัฟเวอรี่ฉันใดฉันนั้น
ผลการศึกษาของ The Society of Practitioners of Insolvency (SPI) ของประเทศอังกฤษ นับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย รายงานฉบับนี้เปิดขยายผลสำรวจเทียบเคียงถึง 5 ครั้ง (รอบ 5 ปี) ได้ผลที่ใกล้เคียงกันมาก
ประเด็นแรก : ธุรกิจที่มีสถิติการล้มละลายสูงสุดใน 5 กลุ่มแรก ได้แก่
ธุรกิจก่อสร้าง (19 - 22%) ของบริษัทที่ล้มละลาย)
ธุรกิจการผลิตสินค้า (16-21%)
ธุรกิจค้าปลีก (11 - 13%)
ธุรกิจค้าส่ง (7 - 10%)
ธุรกิจขนส่ง (4 - 5%)
เราท่านที่อยู่ในธุรกิจเหล่านี้ หรือกำลังจะเข้าสู่ธุรกิจนี้เข้าทำนอง "คนในอยากออกคนนอกอยากเข้า" ก็คงต้องรับทราบถึงภัยที่เคยมีมา และจะมีต่อไป เพราะภัยเหล่านี้เป็นลักษณะความเสี่ยงของระบบที่ภาษาวิชาการเรียกว่าSystemic Risk
ยิ่งในสภาพปัจจุบันที่เป็นยุคโลกภิวัตน์ ย่อมทำให้ความรุนแรงและความผันผวนมีมากขึ้น หรือยากที่คาดคิด อย่างไรก็ดี เมื่อธุรกิจเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงก็ย่อมที่ต้องมีผลตอบแทนสูง (นี่ว่าตามตำราของนักการเงิน)
แต่นักเศรษฐศาสตร์มักจะแย้งว่า ผู้ประกอบการเรียกราคาได้ยาก เพราะว่ากำลังการผลิตล้นโลก (โลกไร้กำลังการผลิตที่มีอยู่ประมาณ 55-65% เท่านั้น) เมื่อเรียกราคาไม่ได้ ต้นทุนก็คุมยาก เพราะโสหุ้ยประกอบการสูง เนื่องจากปริมาณขายไม่เต็มกำลังการผลิต (ส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับ SARS นะครับ) เมื่อมีกำไรน้อย การพัฒนาย่อมเกิดขึ้นยาก
จากเหตุและผลส่วนนี้ย่อมนำไปสู่
ประเด็นที่ 2 ของการสำรวจ พบว่า ธุรกิจที่มีขนาดเล็กล้มละลายสูงกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ดังสถิติต่อไปนี้ บริษัทที่มีลูกจ้าง 1-14 คน มีอัตราส่วนล้มละลายสูงถึง 38% ของบริษัทล้มละลายทั้งหมด ส่วนบริษัทที่มีลูกจ้าง 15-49 คน 50-99 คน และ 100-199 คน มีสถิติการล้มละลายเรียงตามลำดับ คือ 21% 12% และ 14%
สิ่งที่จะอธิบายได้ในส่วนนี้ คือ บริษัทขนาดเล็กจะมีต้นทุนต่อหน่วยที่ค่อนข้างสูง หรือผู้ประกอบการพบว่า รายได้จากการทำธุรกิจไม่คุ้มกับค่าตัวที่ตนเคยทำมา
สิ่งที่จะอธิบายได้ในส่วนนี้ คือ บริษัทขนาดเล็กจะมีต้นทุนต่อหน่วยที่ค่อนข้างสูง หรือผู้ประกอบการพบว่า รายได้จากการทำธุรกิจไม่คุ้มกับค่าตัวที่ตนเคยทำมา
ประเด็นที่ 3 นับว่า น่าสนใจที่มีการเปิดเผยถึงสาเหตุการล้มละลายของบริษัทต่างๆ ดังในรูป
ส่วนนี้ตรงกับปรมาจารย์หลายๆ คนของโลกได้พูดไว้นานแล้ว อาทิ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ พูดว่า "หากไม่มีลูกค้า ก็คือ ไม่มีธุรกิจ" แม้กระทั่ง แจ็ก เวลส์ ผู้โด่งดังของบริษัท จีอี.ยังเชื่อว่า "อย่าตั้งข้อสมมติฐานในลูกค้า และหาให้ได้ว่าลูกค้าหวังคุณภาพใดจากสินค้าและบริการของเรา"
หันกลับมามองบ้านเราบ้าง เท่าที่ผมมีโอกาสสัมผัสกับผู้บริหารทั้งที่เป็นมืออาชีพ หรือมาจากครอบครัว หรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทมักจะขึ้นอยู่กับภูมิหลังการศึกษา และประสบการณ์ของตนเป็นส่วนใหญ่ อาทิ คนที่เติบโตจากสายการเงินและบัญชีก็จะให้ความสำคัญกับการบริหารเงิน ผู้ที่เติบโตจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็มักจะฝากชีวิตตนกับชีวิตบริษัทไว้ที่เทคโนโลยี ผู้ที่เป็นนักการตลาดก็มักจะละเลยหรือให้ความสนใจด้านอื่นน้อย
ผมเองเป็นฝ่ายที่สนับสนุนว่า ในบริษัทหนึ่งๆ นั้นต้องพิจารณาให้เป็นเพียง 1 ชีวิต 1 ร่าง 1 วิญญาณเท่านั้น มิฉะนั้นจะสับสน ดังเช่นที่อวัยวะของร่างกายทะเลาะกันว่า ใครสำคัญกว่าใคร ในนิทานอีสปที่เราอ่านกันมาในสมัยเด็กๆ หากความเชื่อดังกล่าวฝังลึกแล้วการมองภาพของธุรกิจจึงเป็นสหวิทยาการ นั้นคือต้องหล่อหลอมทุกวิชาให้เป็นหนึ่งเดียว คือ วิชาที่ทำให้ธุรกิจรอด เจริญเติบโต และยั่งยืน
ประเด็นที่ 4 เมื่อบริษัทเข้าสู่ภาวะล้มละลายตามคำจำกัดความที่ว่า หนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ทั้งลูกหนี้กับเจ้าหนี้ใช้หรือเลือกใช้วิธีใดในการจัดการให้ได้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และเจ้าของ (ปกติแล้วเจ้าของมักจะไม่ได้คืน)
วิธีการที่นิยมนำเข้ามาจัดการที่มีความนิยมมากน้อยเรียงตามลำดับดังนี้
1)บริษัทสมัครใจล้มละลาย (62%)
ส่วนนี้ตรงกับปรมาจารย์หลายๆ คนของโลกได้พูดไว้นานแล้ว อาทิ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ พูดว่า "หากไม่มีลูกค้า ก็คือ ไม่มีธุรกิจ" แม้กระทั่ง แจ็ก เวลส์ ผู้โด่งดังของบริษัท จีอี.ยังเชื่อว่า "อย่าตั้งข้อสมมติฐานในลูกค้า และหาให้ได้ว่าลูกค้าหวังคุณภาพใดจากสินค้าและบริการของเรา"
หันกลับมามองบ้านเราบ้าง เท่าที่ผมมีโอกาสสัมผัสกับผู้บริหารทั้งที่เป็นมืออาชีพ หรือมาจากครอบครัว หรือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทมักจะขึ้นอยู่กับภูมิหลังการศึกษา และประสบการณ์ของตนเป็นส่วนใหญ่ อาทิ คนที่เติบโตจากสายการเงินและบัญชีก็จะให้ความสำคัญกับการบริหารเงิน ผู้ที่เติบโตจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็มักจะฝากชีวิตตนกับชีวิตบริษัทไว้ที่เทคโนโลยี ผู้ที่เป็นนักการตลาดก็มักจะละเลยหรือให้ความสนใจด้านอื่นน้อย
ผมเองเป็นฝ่ายที่สนับสนุนว่า ในบริษัทหนึ่งๆ นั้นต้องพิจารณาให้เป็นเพียง 1 ชีวิต 1 ร่าง 1 วิญญาณเท่านั้น มิฉะนั้นจะสับสน ดังเช่นที่อวัยวะของร่างกายทะเลาะกันว่า ใครสำคัญกว่าใคร ในนิทานอีสปที่เราอ่านกันมาในสมัยเด็กๆ หากความเชื่อดังกล่าวฝังลึกแล้วการมองภาพของธุรกิจจึงเป็นสหวิทยาการ นั้นคือต้องหล่อหลอมทุกวิชาให้เป็นหนึ่งเดียว คือ วิชาที่ทำให้ธุรกิจรอด เจริญเติบโต และยั่งยืน
ประเด็นที่ 4 เมื่อบริษัทเข้าสู่ภาวะล้มละลายตามคำจำกัดความที่ว่า หนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว ทั้งลูกหนี้กับเจ้าหนี้ใช้หรือเลือกใช้วิธีใดในการจัดการให้ได้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และเจ้าของ (ปกติแล้วเจ้าของมักจะไม่ได้คืน)
วิธีการที่นิยมนำเข้ามาจัดการที่มีความนิยมมากน้อยเรียงตามลำดับดังนี้
1)บริษัทสมัครใจล้มละลาย (62%)
2) เจ้าหนี้เข้าไปจัดการ (55%)
3) เข้าพิทักษ์ทรัพย์ (50%)
4) เจ้าหนี้เต็มใจชำระบัญชี (10%)
5) ศาลสั่ง (5%)
ประเด็นต่อมาที่ทุกฝ่ายสนใจ คือ จะได้เงินคืนเท่าใด ผลสรุปของการที่บริษัทล้มละลายในอังกฤษ พบว่า ได้เงินคืนน้อยมาก กล่าวคือ เจ้าหนี้ได้เงินคืนเพียง 0-10% ของมูลค่าหนี้ คือ ประมาณ 60% ของบริษัทที่ล้มละลายทั้งหมด ได้คืน 11-20% ของมูลค่าหนี้มีอยู่ประมาณ 14% ได้หนี้คืน 21-30% มีจำนวนเพียง 9% โอกาสที่จะได้หนี้คืนเกินกว่า 50% ของมูลค่าหนี้มีไม่ถึง 10% ของบริษัทที่ล้มละลาย
อีกประเด็นหนึ่งที่บรรดานายธนาคารทั้งหลายเป็นห่วงในการปล่อยสินเชื่อแก่ SME ตามนโยบายของรัฐบาล ก็คือ ขนาดของธุรกิจและอายุการประกอบธุรกิจใหม่ที่มักจะมีความเสี่ยงสูง สถิติข้างท้ายนี้ได้ยืนยันในทิศทางเดียวกัน
บริษัทที่มียอดขายต่ำกว่า 1 ล้านปอนด์ ล้มละลายถึง 85% ของบริษัทที่ล้มละลายทั้งหมด บริษัทที่มียอดขายสูงกว่า 5 ล้านปอนด์ ล้มละลายเพียง 6% ของบริษัททั้งหมด นี่ผมกำลังนำสถิติของจำนวนบริษัทที่ล้มละลายไม่ใช่มูลค่าหนี้ที่ล้มละลาย
บริษัทที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี มีสถิติการล้มละลาย 5% (ยังเป็นช่วงข้าวใหม่ปลามัน และทุนเริ่มต้นให้ใช้) บริษัทที่มีอายุในช่วง 1-3 ปี 4-6 ปี 7-20 ปี มีสถิติล้มละลายตามลำดับดังนี้ 36%, 26%, 22% และ 11% ของบริษัทที่ล้มละลาย
ขอแถมอีกเรื่องหนึ่งที่เข้าบรรยากาศของ กรณีศึกษาทีพีไอ พอดี คือ ในอุตสาหกรรมการผลิตนั้นเจ้าหนี้เลือกวิธีเข้าไปชำระบัญชีสูงถึงเกือบ 2,000 คดี ในปี 2001
ผมจึงขอเอาใจช่วยทุกฝ่ายของทีพีไอ ครับว่า อย่าให้แผนฟื้นฟูสะดุดจนก้าวมาถึงกระบวนการล้มละลายเลยครับ และดูเหมือนว่า กรณีของทีพีไอจะไม่มีความสัมพันธ์กับกรณีของอังกฤษมากนัก และดูเหมือนจะแตกต่างจากกรณีของEnron หรือ World Com ในสหรัฐอเมริกา
ประเด็นต่อมาที่ทุกฝ่ายสนใจ คือ จะได้เงินคืนเท่าใด ผลสรุปของการที่บริษัทล้มละลายในอังกฤษ พบว่า ได้เงินคืนน้อยมาก กล่าวคือ เจ้าหนี้ได้เงินคืนเพียง 0-10% ของมูลค่าหนี้ คือ ประมาณ 60% ของบริษัทที่ล้มละลายทั้งหมด ได้คืน 11-20% ของมูลค่าหนี้มีอยู่ประมาณ 14% ได้หนี้คืน 21-30% มีจำนวนเพียง 9% โอกาสที่จะได้หนี้คืนเกินกว่า 50% ของมูลค่าหนี้มีไม่ถึง 10% ของบริษัทที่ล้มละลาย
อีกประเด็นหนึ่งที่บรรดานายธนาคารทั้งหลายเป็นห่วงในการปล่อยสินเชื่อแก่ SME ตามนโยบายของรัฐบาล ก็คือ ขนาดของธุรกิจและอายุการประกอบธุรกิจใหม่ที่มักจะมีความเสี่ยงสูง สถิติข้างท้ายนี้ได้ยืนยันในทิศทางเดียวกัน
บริษัทที่มียอดขายต่ำกว่า 1 ล้านปอนด์ ล้มละลายถึง 85% ของบริษัทที่ล้มละลายทั้งหมด บริษัทที่มียอดขายสูงกว่า 5 ล้านปอนด์ ล้มละลายเพียง 6% ของบริษัททั้งหมด นี่ผมกำลังนำสถิติของจำนวนบริษัทที่ล้มละลายไม่ใช่มูลค่าหนี้ที่ล้มละลาย
บริษัทที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี มีสถิติการล้มละลาย 5% (ยังเป็นช่วงข้าวใหม่ปลามัน และทุนเริ่มต้นให้ใช้) บริษัทที่มีอายุในช่วง 1-3 ปี 4-6 ปี 7-20 ปี มีสถิติล้มละลายตามลำดับดังนี้ 36%, 26%, 22% และ 11% ของบริษัทที่ล้มละลาย
ขอแถมอีกเรื่องหนึ่งที่เข้าบรรยากาศของ กรณีศึกษาทีพีไอ พอดี คือ ในอุตสาหกรรมการผลิตนั้นเจ้าหนี้เลือกวิธีเข้าไปชำระบัญชีสูงถึงเกือบ 2,000 คดี ในปี 2001
ผมจึงขอเอาใจช่วยทุกฝ่ายของทีพีไอ ครับว่า อย่าให้แผนฟื้นฟูสะดุดจนก้าวมาถึงกระบวนการล้มละลายเลยครับ และดูเหมือนว่า กรณีของทีพีไอจะไม่มีความสัมพันธ์กับกรณีของอังกฤษมากนัก และดูเหมือนจะแตกต่างจากกรณีของEnron หรือ World Com ในสหรัฐอเมริกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น