โดยข่าวสด เมื่อ 5 เม.ย.2557
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดเผยว่า สถาบันได้จัดทำซีรีส์งานศึกษาเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่อง "8 ข้อเท็จจริง ความเหลื่อมล้ำในไทย" ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจดังนี้
Read more ...
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดเผยว่า สถาบันได้จัดทำซีรีส์งานศึกษาเรื่องความเหลื่อมล้ำ เรื่อง "8 ข้อเท็จจริง ความเหลื่อมล้ำในไทย" ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจดังนี้
1.ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้ดีขึ้นเลย
จากเมื่อสามทศวรรษที่ผ่านมา โดย 25 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า แต่รายได้ส่วนที่ตกถึงครอบครัวไทยเพิ่มขึ้นเพียง 3 เท่า
โดยเมื่อปี 2529 ครอบครัวที่จนสุด 10% เคยมีรายได้เฉลี่ย 1,429 บาท/เดือน
ครอบครัวรวยสุด 10% มีรายได้เฉลี่ย 28,808 บาท/เดือน ผ่านมา 25 ปี
รายได้ครอบครัวรวยที่สุดโตขึ้น 3 เท่า เพิ่มเป็น 90,048 บาท/เดือน
แต่ครอบครัวจนที่สุดเพิ่มขึ้นไม่ถึง 3 เท่า มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 4,266 บาท
2.กลุ่มใหญ่ที่สุดในครอบครัวคนจนคือ ครอบครัวที่มีคนชราเป็นหัวหน้าครอบครัว
2.กลุ่มใหญ่ที่สุดในครอบครัวคนจนคือ ครอบครัวที่มีคนชราเป็นหัวหน้าครอบครัว
3.เกือบครึ่งของครอบครัวไทยมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท/เดือน ขณะที่รายได้ครอบครัวเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่ 23,000 บาท/เดือน
4.ความเหลื่อมล้ำที่แท้จริงนั้นยิ่งแย่กว่าที่รายงานทั่วไปอย่างน้อย 25% โดยข้อมูลที่ใช้กันทั่วไปมาจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อนำรายได้ครัวเรือนมารวมกันจะอยู่ที่ 6.4 ล้านล้านบาท แต่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า รายได้ครัวเรือนไทยสูงถึง 7.3 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ การสำรวจไม่ได้ให้ภาพที่ครบถ้วนของฐานะการเงินครอบครัวคนรวย เห็นได้จากข้อมูลนิตยสารฟอร์บส์ รวบรวมมูลค่าทรัพย์สินของ 50 มหาเศรษฐีไทย สูงถึง 52,000 ล้านบาท รวยกว่าครอบครัวรวยที่สุดที่สำรวจมาถึง 250 เท่า
นอกจากนี้ การสำรวจไม่ได้ให้ภาพที่ครบถ้วนของฐานะการเงินครอบครัวคนรวย เห็นได้จากข้อมูลนิตยสารฟอร์บส์ รวบรวมมูลค่าทรัพย์สินของ 50 มหาเศรษฐีไทย สูงถึง 52,000 ล้านบาท รวยกว่าครอบครัวรวยที่สุดที่สำรวจมาถึง 250 เท่า
ขณะที่วารสารการเงินธนาคารระบุผู้ได้รับเงินปันผลหุ้นมากสุด 50 อันดับแรก เฉลี่ย 190 ล้านบาท/ปี ซึ่งมากกว่ารายได้รวมจากทุกๆ แหล่งของครอบครัวรวยที่สุดถึง 2 เท่า ทำให้ความแตกต่างระหว่างกลุ่มจนที่สุด 20% และรวยที่สุด 20% เพิ่มขึ้นจาก 11 เท่าเป็น 14 เท่าหรือกว่า 25% และด้วยตัวเลขใหม่นี้จะทำให้อันดับความเหลื่อมล้ำของไทยเมื่อเทียบกับ 157 ประเทศยิ่งแย่ลง คือจากเดิมอยู่ที่อันดับ 121 จะตกไปอยู่ลำดับ 135
5.ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก คือ อันดับ 162 จาก 174 ประเทศ
5.ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งไทยอยู่อันดับท้ายๆ ของโลก คือ อันดับ 162 จาก 174 ประเทศ
6.ทรัพย์สินเฉลี่ยของครอบครัวส.ส. รวยกว่า 99.999% ของครอบครัวไทย โดยทรัพย์สินรวมของส.ส. 500 ครอบครัวมารวมกันเท่ากับ 40,000 ล้านบาท มากพอๆ กับทรัพย์สินของ 2 ล้านครอบครัวรวมกัน ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรีไทยสูงกว่าคนที่มีทรัพย์สินสุทธิอยู่ กึ่งกลางถึง 9,000 เท่า
7.นอกจากนี้มีความเหลื่อมล้ำด้านอื่นๆ
8.ความเหลื่อมล้ำที่สำคัญที่ควรแก้ คือความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส