เคล็ดลับแปดประการสู่ความสำเร็จของริชาร์ด เซนต์จอห์น

24 มิ.ย. 2555
ทำยังไงถึงจะประสบความสำเร็จ? เก่งหรือเฮง? จริงๆ แล้วไม่ใช่ทั้งคู่ ริชาร์ด เซนต์จอห์น นักวิเคราะห์ธุรกิจได้ย่อเวลาหลายปีที่สัมภาษณ์บุคคลต่างๆ มากมายให้กลายเป็นเคล็ดลับสู่ความสำเร็จแค่ 3 นาทีที่คุณไม่ควรพลาด

A self-described average guy who found success doing what he loved, Richard St. John spent more than a decade researching the lessons of success -- and distilling them into 8 words, 3 minutes and one successful book
Read more ...

โรงเรียนเป็นแหล่งทำลายความคิดสร้างสรรค์ โดย Ken Robinson

24 มิ.ย. 2555
Sir Ken Robinson แสดงความเห็นที่ให้ทั้งความบันเทิงและกระตุ้นความคิด เพื่อสร้างระบบการศึกษาที่หล่อเลี้ยงความคิดสร้างสรรค์ (แทนที่จะเป็นการทำลาย)

Creativity expert Sir Ken Robinson challenges the way we're educating our children. He champions a radical rethink of our school systems, to cultivate creativity and acknowledge multiple types of ntelligence 
Read more ...

สนามแข่งหนู

24 มิ.ย. 2555
โดย http://chantrawong.blogspot.com/2010/08/blog-post_17.html

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อีกไม่นานนัก หนูแก่ๆ หลายตัวก็จะเกษียณไป หนูหัวหน้าตัวใหม่กำลังจะขึ้นมาแทน และก็ยังมีหนูอีกหลายตัวกำลังวิ่งแข่งขันกันอยู่ภายในสนาม....

วันนี้..ผมคิดถึงหนังสือเล่มหนึ่งที่เคยอ่าน มีอยู่ตอนหนึ่งเขียนเรื่อง "สนามแข่งหนู" ไว้ เลยนำมาคิดเปรียบเทียบกับชีวิตในสังคมเราทุกวันนี้....โดยเฉพาะอย่างยิ่ง...ชีวิตของข้าราชการอย่างผม...

วันๆ เรานั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ บนโต๊ะข้างหน้ามีหนังสือกองโตที่รอให้เซ็นต์ โถ..นึกว่างานเยอะ แต่แท้ที่จริงแล้วหนังสือกองโตเหล่านั้น เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง และการดำรงสภาพของหน่วยตัวเองเสียส่วนใหญ่..แทบไม่มีเรื่องราวอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเลย....

ผมเคยหยิบกระดาษ A4 เปล่าๆ ขึ้นมาหนึ่งแผ่น ตั้งใจจะเขียนว่า วันนี้ ข้าราชการอย่างผม ได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมบ้าง...เชื่อไหมว่า...ผมไม่รู้จะเขียนอะไร.... (อันนี้ไม่ได้หมายถึงข้าราชการทุกคนนะครับ หมายถึงตัวของผมเอง)

ผมจินตนาการภาพของสนามแข่งหนู ที่กำลังมีผู้นั่งชมและเชียร์อยู่รอบๆ พวกหนูทั้งหลาย ก็กำลังวิ่งแข่งขันกันอยู่ภายในลู่ที่จัดเตรียมไว้ให้ แรกๆ เมื่อเริ่มปล่อยตัวจากจุดสตาร์ท หนูทุกตัวต่างสดชื่น ตั้งหน้าตั้งตาวิ่งไปยังเส้นชัย เพื่อจะได้เป็นผู้ชนะ...

วิ่งไปสักพักลู่เริ่มแคบลงเรื่อยๆ หนูบางตัวหมดแรงและถูกหนูกันเองกัดจนแผลเหวอะหวะไปหมด หนูตัวที่แข็งแรงและรู้หลบหลีก ก็ยังวิ่งไปข้างหน้าเรื่อยๆ....

มีหนูบางตัวรู้สึกว่าตัวเองมาแข่งขันกันทำไมในลู่เล็กๆ เหล่านี้...ทั้งๆ ที่ข้างหน้าก็รู้ว่ามันเป็นอะไร...จึงตัดสินใจกระโดดออกจากสนามแข่งหนู ทันที....หนูตัวนั้นจึงรู้ว่า....โลกนอกสนามแข่งนี้...มันช่างกว้างใหญ่เสียจริงๆ มีเรื่องราวชวนให้เรียนรู้อีกมากมาย....

หนูที่เหลือส่วนใหญ่ก็ยังวิ่งแข่งขันกันไปยังเส้นชัยเรื่อยๆ...เพื่อจะได้เป็นผู้ชนะ....ทั้งๆ ที่รู้ว่าผู้ชนะต้องมีตัวเดียว.... หนูเริ่มใช้ปากกัดตัวข้างหน้า เท้าถีบตัวข้างหลัง เบียดเพื่อนหนูที่วิ่งอยู่ข้างๆ ให้ตกลู่ไป...หนูบางตัวสู้ไม่ไหว ก็ย้ายไปแข่งขันในสนามอื่น...

กว่าจะถึงเส้นชัย...ได้เป็นผู้ชนะก็สะบักสบอม เสียพวกพ้องเพื่อนหนูที่วิ่งแข่งขันร่วมกันไปหลายตัว...หลงดีใจอยู่พักหนึ่ง..ว่าตนเองเป็นผู้ชนะ...หันกลับมาดูอีกที..เพิ่งรู้ว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า ข้าก็จะเป็นหนูแก่ๆ ที่จะเกษียณแล้วเหรอ...นึกในใจว่า...น่าเสียดายเวลาที่เอาแต่วิ่งแข่งขันกันมาตลอดอายุราชการ....

หนูที่แข่งขันกันในสนามนั้น...แทบไม่รู้เลยว่าความสุขระหว่างทางนั้นเป็นอย่างไร....

ผมจำคติของคุณตรง ตันติเวชกุล ที่เขียนไว้ในบทความหนึ่งแต่จำไม่ได้ว่าอะไร คุณตรงมีคติว่า

"ผมยืนอยู่บนเส้นทางที่แตกต่างจากคนอื่น โดยไม่สนใจว่าปลายทางจะเป็นอะไร แต่ระหว่างทางต้องมีความสุข"

ผมมองเห็นวิธีการที่หนูในสนามแต่ละตัวแข่งขันกัน...มันช่างสกปรกสิ้นดี...ผมรู้สึกว่าผมทำอย่างหนูพวกนั้นไม่ได้ ผมไม่สามารถเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนพฤติกรรมและเปลี่ยนความรู้สึกของตนเองได้ ผมจึงไม่อยากที่จะเป็นผู้ชนะในสนามแข่งขันนั้น...เพราะความสุขระหว่างทางของผมจะหายไปหมด เพียงเพื่อจะได้เป็นผู้ชนะและชื่นชมความเป็นผู้ชนะอยู่เพียงปีสองปี...

ผมเบื่อสนามแข่งหนู...และผมต้องรู้ตนเองให้ได้ว่า...ความสุขที่ผมต้องการนั้น แท้จริงคืออะไร...
Read more ...

แนวทางการลงทุน

24 มิ.ย. 2555
 
 
 
โดย http://www.fungistock.com/2012/04/06/books/

หนังสือชุด “พ่อรวยสอนลูก”

หนังสือชุด พ่อรวยสอนลูก เล่มที่ 1 สอนให้ผมรู้จัก รายได้ รายจ่าย สินทรัพย์ และหนี้สิน

เมื่อเรามีรายได้จากการทำงาน เราก็นำรายได้ของเราไปจับจ่ายใช้สอย หรือ ก่อหนี้ ด้วยการซื้อบ้าน ซื้อรถ

เมื่อเราซื้อบ้านหรือรถ เริ่มก่อหนี้ เราก็กลายเป็นหนูถีบจักร ทำงานให้นายจ้าง ทำงานให้ธนาคาร เมื่อทำงานแล้วไม่มีเงินเก็บ

และเมื่อเราทำงานแล้วมีรายได้มากขึ้น เงินเดือนเพิ่ม ก็ก่อหนี้มากขึ้น ใช้จ่ายซื้อสินค้ามากขึ้น ซื้อบ้านหลังใหญ่ขึ้น ซื้อรถคันใหม่ เราก็ต้องยิ่งทำงานหนักขึ้น ทำงานให้ธนาคารมากขึ้น ทำงานให้นายจ้างมากขึ้น

สภาวะเช่นนี้ โรเบิร์ต คิโยซากิ เรียกว่า Rat Race หรือสนามแข่งหนูนั่นเอง นั่นคือ ทำงานแล้วไม่ไปไหน รายได้มากขึ้น แต่ไม่รวยเสียที

ให้สินทรัพย์ทำงานแทน

แต่เมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มเก็บเงินก่อน “จ่ายเงินให้ตัวเองก่อน” แล้วซื้อสินทรัพย์ที่สามารถสร้างกระแสเงินสดให้เราได้ เราก็จะมีรายได้มากขึ้น โดยที่ไม่ต้องทำงานเพิ่ม แล้วเราก็นำรายได้ที่มากขึ้นนี้ ไปซื้อสินทรัพย์ ให้สินทรัพย์ทำงานแทน สร้างกระแสเงินสดให้กับเรา ทำให้เรามีรายได้ที่มากขึ้นนอกเหนือจากงานประจำ

ทำไมคนรวยจึงรวยยิ่งขึ้น ? ก็เพราะว่าคนรวย นำเงินรายได้ไปซื้อสินทรัพย์ แล้วให้สินทรัพย์สร้างรายรับให้กับเรา เมื่อเรามีรายได้มากขึ้น ก็จะนำรายได้ส่วนนั้นไปซื้อสินทรัพย์ต่อเนื่อง รายได้ยิ่งมากขึ้น ก็ยิ่งซื้อสินทรัพย์มากขึ้น จนถึงจุดที่ไม่ต้องทำงานก็ยังมีรายได้อย่างต่อเนื่องจนครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆได้ทั้งหมด ก็คือเข้าสู่ อิสรภาพทางการเงินนั่นเอง
เงิน 4 ด้าน รายรับ 4 ช่องทาง

ในส่วนของพ่อรวยสอนลูก เล่มที่สอง “เงินสี่ด้าน” จะสอนให้เรารู้จักรายได้ 4 ช่องทางของคนทุกๆคน นั่นก็คือ รายได้จากงานประจำ รายได้จากกิจการส่วนตัว ทางด้านซ้าย รายได้จากธุรกิจ และรายได้จากการลงทุน ทางด้านขวา

โดยที่รายได้จาก งานประจำ หรือ ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น แพทย์ ก็จะมีรายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัวคือคลินิก ช่างตัดผม มีรายได้จากการประกอบธุรกิจส่วนตัวคือร้านตัดผม เป็นต้น ซึ่งรายได้ด้านนี้จะจำกัด เพราะรายได้ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของกิจการ

ในขณะที่รายได้จากด้านขวา ก็คือรายได้จากการประกอบธุรกิจ “ใช้ระบบและทำงานเป็นทีม” และรายได้จากการลงทุน “ใช้สินทรัพย์ทำงานแทน” สามารถทำให้เรามีรายได้ไม่จำกัด

ผมเลือกที่จะเป็นนักลงทุน

ด้วยเหตุที่ว่า ผมยังต้องทำงานประจำอยู่ ทางหนึ่งที่ผมจะสามารถมีรายได้ทางด้านขวา นั่นคือ ผมต้องทำธุรกิจส่วนตัวไปด้วย ซึ่งผมคิดว่าไม่มีความสามารถมากเพียงพอที่จะออกไปประกอบธุรกิจเองได้ นอกเหนือจากนี้ จากสถิติ 95% ของธุรกิจเกิดใหม่จะล้มเหลวภายใน 5 ปี

หรือทางเลือกที่สองก็คือเป็นนักลงทุนซึ่งคิดว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่คนทำงานกินเงินเดือนอย่างผมจะสามารถลงทุนไปด้วยและทำงานไปด้วยได้

จุดเริ่มต้นของการลงทุน

ในหนังสือพ่อรวยสอนลูกนั่น กล่าวถึง และข้อแตกต่างระหว่าง

นักพนัน กับ นักลงทุน

นักลงทุน กับ นักเก็งกำไร

การเลี้ยงวัวนมที่ให้นมกับเราทุกเช้า กับ การเลี้ยงโคเนื้อที่ต้องขายก่อนที่จะถูกหมาป่ามากิน

การลงทุนเพื่อกระแสเงินสด กับ การลงทุนเพื่อกำไรจากส่วนต่างราคา

การเปรียบเทียบแต่ละคู่นี้ มีความเสี่ยงต่างกันสุดขั้ว การลงทุนเพื่อกระแสเงินสดเป็นการรับประกันการคืนเงิน แต่ถ้าคุณลงทุนเพื่อหวังกำไรส่วนต่างราคาก็คือการลงทุนบนความหวังและความฝัน

ผมต้องการการลงทุนที่รับประกันการคืนเงิน แม้ในช่วงที่ตลาดตกต่ำ ก็ยังสามารถสร้างกระแสเงินสดให้ผมมีใช้จ่ายและมีเงินเหลือพอลงทุนต่อไปได้ ดังนั้น ผมจึงเลือกตามแนวทาง “หุ้นที่มีปันผลต่อเนื่อง”
Read more ...

"หนุ่มเมืองจันท์ : คาถาซัมซุง

12 มิ.ย. 2555
ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ (ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11-17 พ.ค.2555)

ไม่ได้หยิบหนังสือเล่มนี้มานานแล้ว(ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11-17 พ.ค.2555)

"ซัมซุง มหาอำนาจอิเล็กทรอนิกส์"

จนวันก่อนเห็นข่าวยอดขายสมาร์ทโฟนของ "ซัมซุง" ชนะ "ไอโฟน" ของ "แอปเปิล" แล้ว

ผมจึงหยิบหนังสือเล่มนี้มาพลิกอ่านอีกครั้ง

คนรุ่นใหม่อาจไม่แปลกใจในปรากฏการณ์นี้มากนัก

แต่คนอายุ 30 ปีขึ้นไปที่ยังจำภาพ "ซัมซุง" ในอดีตได้คงแปลกใจ

เพราะในอดีตภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ซัมซุง คือ สินค้าราคาถูก

เกรดต่ำกว่าสินค้าจากญี่ปุ่น

แต่เพียงชั่วเวลาไม่นาน "ซัมซุง" กลับกลายเป็นสินค้าเกรดเอ

โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อนของ "ซัมซุง" โชว์นวัตกรรม "จอสี" และเสียงโทร.เข้าที่ไพเราะกว่าเสียงโมโนโทน

เหนือกว่า "โนเกีย" ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในยุคนั้น

คุยกับผู้บริหาร "เอไอเอส" ในยุคนั้น เขายังบ่นเลยว่า "ซัมซุง" กล้าหาญมากที่ตั้งราคาสูงกว่ามือถือทั่วไป

ทั้งที่ใช้แบรนด์ "ซัมซุง"

แต่สุดท้าย "ซัมซุง" รุ่นนั้นก็ประสบความสำเร็จ

จากวันนั้นเป็นต้นมา "ซัมซุง" ก็ไม่ใช่ "ซัมซุง" ที่เราคุ้นเคย

เขาเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ ไม่ผลิตสินค้าเกรดต่ำ ราคาถูกอีกต่อไป

ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ ตู้เย็น หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือ

สินค้า "ซัมซุง" กลายเป็นสินค้าคุณภาพ ที่โชว์เหนือเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ

ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เกิดจาก 

"ลี กอน ฮี"

 ที่รับสืบทอดกิจการมาจากรุ่นพ่อ 

"ลี เบียง ชอล"

ผมพลิกหนังสือเล่มนี้แบบอ่านเล่น ไม่ได้อ่านจริงจัง

แต่กลับพบเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ

เป็นคาถา "ซัมซุง

ที่ "พ่อ" มอบให้กับ "ลูก"

วันที่ "ลี เบียง ชอล" ประกาศว่าผู้สืบทอดกิจการ "ซัมซุง" คือ "ลี กอน ฮี" บุตรชายคนที่ 3

เขาเรียกลูกชายมาที่ห้องทำงาน แล้วหยิบพู่กันจุ่มหมึกเขียนข้อความสั้นๆ
"จงรับฟัง"

นี่คือ คาถาข้อแรกของการเป็นผู้บริหารสูงสุดในองค์กรใหญ่ที่ "พ่อ" มอบให้กับ "ลูก"

"ลี เบียง ชอล" รู้ซึ้งถึงสัจธรรมของ "อำนาจ" ว่ายิ่งมีอำนาจมาก ยิ่งรับฟังน้อยลง

และเมื่อ "พูด" มากกว่า "ฟัง"

"ความรู้ใหม่" ก็ไม่เกิด

"ลาร์ลี่ คิง" นักพูดชื่อดัง เคยบอกว่า "เราไม่เคยฉลาดขึ้นจากการพูด"

มีแต่การฟังเท่านั้นที่จะได้ "ความรู้" จากผู้อื่น

เขาจึงเตือน "ลี กอน ฮี" ตั้งแต่เริ่มต้นการเรียนรู้งานในตำแหน่ง "ประธาน"

ในวันที่ "ลี กวน ฮี" มีอำนาจเต็มใน "ซัมซุง" เขาจึงเป็นคนที่ได้รับคำชมอย่างมากว่าเป็น "ผู้ฟัง" ที่ดี

ทั้งที่ "ลี กวน ฮี" เป็นคนพูดเก่ง เขาสามารถบรรยายติดต่อกัน 3-4 ชั่วโมงได้อย่างสบาย

แต่ "จุดเด่น" ของเขากลับอยู่ที่การรับฟัง

ฟังเพื่อนนักธุรกิจ ฟังนักวิชาการ ฟังผู้บริหาร ฟังพนักงาน ฯลฯ

จากนั้นจึงเริ่มตั้งคำถาม

"ทำไม-ทำไม-ทำไม ฯลฯ"

ว่ากันทุกปัญหา "ลี กวน ฮี" จะตั้งคำถามว่า "ทำไม" อย่างน้อย 6 คำถาม

คาถาเรื่อง "จงรับฟัง" นั้น ผมจำได้ว่า "กานต์ ตระกูลฮุน" กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ "เอสซีจี" หรือ "ปูนซิเมนต์ไทย" เคยบอกว่าตอนที่จะเปลี่ยนองค์กร "เอสซีจี" สู่นวัตกรรม

เขาต้องเข้าอบรมหลักสูตรหนึ่ง

ชื่อว่า "การฟัง"

สอนให้รู้จักอดทนรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง

เพราะถ้าไม่มีท่าทีรับฟังก็จะไม่มีลูกน้องคนใดกล้าเสนอความเห็นที่นอกกรอบ

และองค์กรนั้นก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลง

คาถาบทที่สองที่ "ลี เบียง ชอล" มอบให้กับลูกชายผู้สืบทอดกิจการ ก็คือ
"ไก่ไม้"

"ไก่ไม้" คือ ไม้ที่แกะสลักเป็นตัวไก่

ในห้องนอนของเขาจะมี "ไก่ไม้" แขวนอยู่

"ไก่ไม้" นั้นมาจากนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือคำสอนของ "จวงจื่อ" ปราชญ์คนหนึ่งของจีน

คนเลี้ยงไก่ชนชื่อดังคนหนึ่ง ชื่อ "จี้ เซิง จื่อ" เป็นคนเลี้ยงไก่ชนให้กับ "โจว ซวน อ๋อง"

วันหนึ่ง "โจว ซวน อ๋อง" นำไก่ชนตัวหนึ่งมาให้เลี้ยง

ผ่านไป 10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ก็ถามเขาว่า "ไก่ชนใช้ได้หรือยัง"

"ยังไม่ได้ เพราะมันยังเดินกร่างอยู่ ทะนงตน ท้าทายไปทั่ว" จี้ เซิง จื่อ ตอบ

ผ่านไปอีก 10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ก็ถามด้วยคำถามเดิม

ไก่ชนใช้ได้แล้วหรือยัง"

คำตอบของ "จี้ เซิง จื่อ" เหมือนเดิม คือ "ยัง"

แต่เหตุผลเปลี่ยนไป

"ยังไม่ได้ ตอนนี้ไม่ท้าทายไก่ตัวอื่นแล้ว แต่มักจะโดดตีถ้าไก่ตัวอื่นเข้าใกล้"

อีก 10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ถามอีก "ไก่ชนใช้ได้หรือยัง"

"ยังไม่ได้ ตอนนี้ไม่โดดตีแล้ว และลดความทระนงตนลงแต่สายตายังดุร้าย เหมือนพร้อมจะตีกับไก่ตัวอื่น"

อีก 10 วัน "โจว ซวน อ๋อง" ถามด้วยคำถามเดิม

ครั้งนี้คำตอบมีพัฒนาการ

"จี เซิง จื่อ" ตอบว่าพอใช้ได้แล้ว เพราะเมื่อไก่ตัวอื่นขัน ก็ไม่แสดงอาการตอบ เป็นราวกับ "ไก่ไม้"

"เห็นไก่ตัวอื่นก็ไม่มีปฏิกิริยาตอบโต้ ไก่ตัวอื่นเห็นก็ไม่กล้าเข้าใกล้ เดินหนีไปหมด"

ครับ "ไก่ชน" ที่ดีนั้นไม่ใช่ "ไก่" ที่ตีเก่ง ฮึกเหิมห้าวหาญท้าทีท้าต่อยไปทั่ว

แต่ "ไก่ชน" ที่ดีต้อง "นิ่ง" เป็น

สงบสยบเคลื่อนไหว

รู้จักเก็บความรู้สึกของตนเอง แต่สามารถเปล่งประกายจนไก่ชนตัวอื่นย้ำเกรง

ชนะโดยไม่ต้องชน

ผู้บริหารที่ดีในความหมายของ "ลี เบียง ชอล" คือ ต้องใจเย็น สงบนิ่งในสถานการณ์ที่กดดันให้ได้

"นิ่ง" เหมือน "ไก่ไม้"

เขามอบ "ไก่ไม้" ให้ลูกชาย เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจให้รู้จัก "นิ่ง"

"จงรับฟัง" และ "ไก่ไม้" อาจไม่ใช่คาถาที่นำความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่ "ซัมซุง"

แต่เป็นคาถาที่ "ลี กวน ฮี" ใช้ในการบริหารงานมาโดยตลอด

และนำพา "ซัมซุง" ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน
Read more ...

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget