Man's Search for Meaning

22 ธ.ค. 2552
 
ผู้ชายคนหนึ่งที่สามารถฝ่าฟันความยากลำบากแสนสาหัสอย่างที่ไม่มีใครคิดว่าเรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้นจริง ฉันว่าในโลกนี้คงไม่มีเหตุการณ์ไหนร้ายแรงและน่าเศร้าไปกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในยุคนาซีอีกแล้ว

Viktor E. Frankl วิคเตอร์ อี แฟรงเกิล 

เป็นบุคคลที่น่านับถือเป็นอย่างยิ่ง ภายหลังที่เขารอดพ้นจากการเป็นเชลยสงคราม เขาถ่ายทอดประสบการณ์อันแสนโหดร้าย ที่เขาและเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ต้องเผชิญกับความเหี้ยมโหดจาก

"เพื่อนมนุษย์ต่างสัญชาติ"

เขาถ่ายทอดออกเป็นหนังสือเล่มนี้ภายในเวลาแค่ 9 วันความอัดอั้นมันพร้อมจะพร่างพรูออกมาอย่างไม่หยุดหย่อน เขาบอกว่า เพื่อนบางคนของเขาถึงขนาดที่บังคับตัวเองให้หยุดพูดไม่ได้เลย สิ่งที่พวกเขาเผชิญนั้น น้อยคนนักที่จะรับไหว หากไม่มีจุดมุ่งหมายแห่งชีวิต

เขาผ่านช่วงเวลาอันโหดร้ายนั้นมาได้อย่างไร คำตอบอยู่ในหนังสือเล่มนี้

Man's Search for Meaning

มนุษย์สามารถดิ้นรนอยู่ได้หากชีวิตเขามีความหมาย แม้จะเป็นจุดมุ่งหมายเพียงเล็กน้อย เช่น การได้รอดกลับไปเจอหน้าบุคคลอันเป็นที่รัก หรือการได้รอดกลับไปเพื่อเขียนตำราที่ค้างไว้ให้จบ เป็นต้น

"Everything can be taken from a man but ...the last of the human freedoms - to choose one's attitude in any given set of circumstances, to choose one's own way."p.104

ทุกสิ่งอาจพรากไปจากเราได้ แต่อย่างน้อย อิสรภาพยังเป็นของเรา ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ไหน เราสามารถเลือกว่าจะเป็นอย่างไร เราสามารถเลือกทางของเราได้เอง

"We can discover this meaning in life in three different ways: (1) by doing a deed; (2) by experiencing a value; and (3) by suffering."p.176

เราสามารถค้นพบความหมายแห่งชีวิตได้ 3 หนทางแตกต่างกันไป คือ

1) เมื่อได้สร้างสรรค์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

2) เมื่อได้พบสิ่งที่มีคุณค่า และ

3) เมื่อได้พบกับความทุกข์

ความทุกข์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของชะตากรรมของเรา เมื่อเรายอมรับมัน เราจะไม่หวั่นเกรงกับมันอีก ความทุกข์ก็เหมือนเงา ยิ่งเราวิ่งหนีมัน มันยิ่งวิ่งตาม และเงาจะยิ่งใหญ่ขึ้นๆ

จงจำไว้ว่าสิ่งใดที่ไม่ฆ่าเราให้ตาย มันจะทำให้เราเข้มแข็งกว่าเดิม (นิตช์เช่)

พลังแห่งความรัก ความหวังและศรัทธา จะนำพาเราฝ่าฟันอุปสรรคใดๆ ก็ตามให้ผ่านพ้นไปได้และบางครั้ง เราควรหมั่นถามตัวเองบ้างว่า หากพรุ่งนี้เป็นวาระสุดท้ายของชีวิต เราจะทำอะไร?

--------------------------- 

เป็นหนังสือที่มากกว่าหนังสือบอกเล่าเรื่องราวในค่ายกักกันของคนๆ หนึ่ง ที่โดยมากมักเน้นที่ตัวคนเขียน กะสภาพที่เขาเจอ และพบเห็นการกระทำอันโหดร้ายของเหล่านาซี

แต่ยังบอกเล่าถึงสภาพความทรมานทางจิตใจของเหล่าผู้ที่ต้องเผชิญกะชะตากรรม อันดูไร้อนาคตของวันพรุ่งนี้ ร่วมทั้งตีแผ่จิตวิญญาณของมนุษย์ ให้เห็นถึง เนื้อแท้ของสามัญชนคนเดินดินทั้งหลาย ว่าทำเช่นไรพวกเขาถึงมีความหวังได้ในสภาวะที่ไร้ซึ่งความหวังทั้งปวง บอกเล่าว่าทำไม พวกเขาเหล่านั้นถึงยังทนมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งๆ ที่สำหรับผมแล้ว บางทีถ้าเจอสภาพอันทารุณเช่นนั้น ผมอาจจะหาเรื่องผู้คุมให้โดนฆ่าตายเร็วๆ รึหาวิธีฆ่าตัวตายเพราะไม่อาจทนอยู่สืบไปก็ได้
หนังสือเล่มนี้ยังบอกเล่าถึงวิธีการหลุดจากคำสาปแห่งเสรีภาพที่ทุกวันนี้แทบทุกผู้คนต้องเผชิญกับมัน

ต้องทนทุกข์ในเบื้องลึกของจิตใจกะค่ายกักกันที่มองไม่เห็น และต้องโศรกเศร้ากะความว่างเปล่าภายใน จนบ้างครั้งต้องนึกขึ้นมาว่า เรามีตัวตนนี้เพื่ออะไร

ดร.วิกเตอร์ แฟรงเกิลผู้เขียนเรื่องนี้ได้บอกเล่าและเสนอสิ่งที่เรียกว่า โลโกเธราพี รึการบำบัดด้วยวิธีการหาความหมาย ให้เราๆท่านๆได้ทดลองใช้จัดการกะปัญหาเหล่านี้

เพราะถึงที่สุดแล้วความสนใจหลักของมนุษย์ทุกผู้นามหาใช่เพียงความพึงพอใจกะวัตถุต่างๆรึการไม่ต้องเจ็บปวด แต่เป็นการประจักษ์แจ้งกะความหมายของชีวิตของตัวตนของเราเอง

และที่สุดแล้ว มนุษย์ไม่ควรคิดแต่ตั้งคำถามว่าอะไรคือความหมายของชีวิตเรา แต่ควรตระหนักว่า ชีวิตต่างหากที่กำลังถามหาความหมายจากตัวเราเอง

เราแต่ล่ะคนนี้ล่ะที่ต้องตอบคำถามนั้นต่อชีวิตด้วยวิธีการใช้ชีวิตของเราเองนั้นแล ผมขอเชียร์หนังสือเล่มนี้สุดๆเลยครับ เป็นหนึ่งในหนังสือที่ ดีที่สุดเล่มหนึ่ง ในแง่ของ

คุณค่าของมนุษย์และการค้นหาความหมายเพื่อเติมเต็มส่วนลึกของตน ทั้งยังเขียนบอกเล่าได้เรียบง่ายและตรงไปตรงมาง่ายต่อการทำความเข้าใจ

แม้คุณอาจไม่ชอบหนังสือแนวนี้แต่ผมเชื่อว่าคุณจะสนุกกับหนังสือเล่มนี้ และค้นพบหลายสิ่งที่ให้แง่คิดหลายอย่างที่คุณอาจไม่เคยเห็นมาก่อนเกี่ยวกับชีวิต

เป็น 1 ในเล่มที่คุณไม่ควรพลาดอย่างยิ่งครับ

สมกับที่เขียนบรรยายสรรพคุณเล่มนี้ว่า

ผู้ที่รู้ว่าตนจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ย่อมสามารถทนรับสิ่งต่าง ๆ ได้เกือบทุกอย่างบนโลกใบนี้..

“ทรงคุณค่าทั้งในแง่ของงานวรรณกรรม ปรัชญา ตลอดจนคำแนะนำแนวทางจิตวิทยาที่มีนัยสำคัญที่สุดในยุคปัจจุบัน”

ศาสตราจารย์ กอร์ดอน อัลพอร์ต Harvard University

“ถ้าคุณอ่านหนังสือเพียงเล่มเดียวในปีนี้ Man’s search for meaning ควรเป็นหนังสือเล่มนั้น”

Los Angeles Times

“...สำนักคิดที่สำคัญที่สุดนับแต่ยุคฟรอยด์และแอดเลอร์” The American Journal of Psychiatry

“ประสบการณ์ที่ผมได้จากการพบปะผู้คนมากมายยืนยันสิ่งที่แฟรงเกิลนำเสนอในหนังสือเล่มนี้”

สตีเฟน อาร์ โควี่ ผู้เขียน The 7 Habits of Highly Effective People

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุน เเปลไทย ป่าว
    ที่เป็น ภาษาไทยอ่ะคัม
    bunsiri7@gmail.com...ช่วยด้วย

    ตอบลบ

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget