Managing By Wandering Around การจัดการโดยเตร็ดเตร่ไปรอบๆ

17 ธ.ค. 2552
24 / 03 / 2006 :: catchup

ผมขออนุญาติ Repost comment ของผมเองโดยยกมาจากเรื่องเกี่ยวกับ WBWA(Managing By Wandering Around) มาที่นี่อีกครั้ง เนื่องจากมันพาดพิงถึงวัฒนธรรมองค์กร(The way people live. ตามที่คุณ Re-Know ว่า) กับ Behavior ของคนไทยมากมายหลายมิติ ดังนี้ครับ .............

ผมมีความเห็นว่า MBWA เป็น direction ที่ทุกองค์กรควรจะไป (มันเหมาะกับบุคลิกของผมเองด้วยที่ไม่ชอบอยู่กับที่ และที่จริงผมก็มีแนวความคิดเช่นนี้มานานแล้ว ก่อนที่จะมาพบกับมันที่นี่)

แต่ผมว่าประเทศไทย มี Traps หลายอย่างที่จะต้องสลายไปก่อนที่จะเอามันมาใช้

MBWA’s Traps (Thai Model) (สนุกๆ นะครับอย่า serious เกินไป และไม่ต้องเชื่อนะครับ Use your own judgement ครับ ):

1. “วัฒนธรรมองค์กร” ต้องเปลี่ยนก่อนครับ มีหลายข้อ… เอาเบาะๆ ก่อนนะครับ เช่น Gap(การแบ่งชนชั้นวรรณะ) ระหว่างผู้บริหารระดับสูง และพนักงานทั่วไป ต้องลดลงให้มากที่สุด ต้องทำให้พนักงานทั่วไป ไม่มองผู้บริหารระดับสูงว่าเป็น “พระเจ้า” เดินผ่านต้องตัวลีบเลย คำเรียกหาก็ต้องมี “ท่าน” นำหน้า …

เพราะฉะนั้นข้อมูลที่พนักงานให้ ก็จะไม่เป็นไปอย่างธรรมชาติ ต้องวางฟอร์ม คือยังไม่ทันพูดเลยก็ขาดความจริงไปเสียแล้ว

ผู้บริหารระดับสูงบางท่านเคยตัว หรือ ลืมตัวก็ไม่ทราบ ดันเอานิสัย แบ่งชนชั้นวรรณะไปใช้กับลูกค้า อุ๊ย...ผมพูดแรงไปหรือเปล่าเนี่ย 555

2. “Weaknesses by Nature” ของคนไทยครับ

O คนไทยกลัวโง่/ไม่ยอมโง่(จากประสบการณ์ผมนะครับ ท่านไม่ต้องเชื่อ ลองไปหาความจริงดูเองครับ)

ตัวอย่าง หลายครั้งเวลาผมหลงทางแล้วไปถามทางคน(ไทย) ก็จะชี้ไปทางนี้ พอไปถามอีกคน ก็บอกว่าอีกทางหนึ่ง เอาเข้าจริงๆ ไม่รู้ซักคน แต่ต้องตอบไปก่อน (ทำไมไม่พูดว่า ไม่ทราบ ไม่รู้) เพราะไม่ยอมโง่ ทำเอาหลงทางแย่เลย … เวลาอาจารย์สอนในห้องเรียน ใครไม่เข้าใจให้ถาม ก็ไม่ค่อยจะยอมยกมือถาม แต่พอมาปฏิบัติกิจที่ห้องน้ำ ก็จะบ่นกันว่า “มรึงว่ามะ อาจารย์ แมร่งสอนไม่รู้เรื่องเลยว่ะ” ขออภัยหากไม่สุภาพเล็กน้อย แต่ต้องการให้ทุกท่าน in กับสถานการณ์

แม้แต่พนักงานใน office ก็จะเป็นอย่างนี้เยอะ คือถามอะไรมักจะตอบไปก่อน โดยไม่รู้จริง เราจะไปพบความจริงทีหลัง ซึ่งหลายๆ ครั้งมันก็สายไปเสียแล้ว ระวัง !!.......

อันนี้ไม่ใช่ทุกคนนะครับ แต่มากทีเดียว... Find out by yourself !

เป็นที่ระดับการศึกษาส่วนหนึ่งครับ แต่ไม่จริงเสมอไป ผมลองสังเกตและทดลองเรื่องนี้พอควร และพบว่าแม้ในผู้มีการศึกษาดี ก็เป็นโรคกลัวโง่/ไม่ยอมโง่ เช่นเดียวกันครับ

O คนไทยไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองผิดครับ (ไม่ต้องเชื่อนะครับ ไปลองค้นหาความจริงดูเอง ... โดยเฉพาะนักการเมืองรึเปล่าก็ไม่ทราบ)
ดังนั้น MBWA จะเป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองในบริษัท คือใส่ร้ายป้ายสีกัน แทนที่ผู้บริหารจะได้ข้อมูลที่ดีในแง่ธุรกิจ ก็จะกลายเป็นเรื่องใครชอบใคร เกลียดใคร คนนั้นไม่ดีอย่างไร ทำงานห่วยอย่างไร (ไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ แต่ก็ไม่น้อยหละ) จะปวดหัวครับผม... ยิ่งทำให้บรรยากาศในองค์กรแย่ลงไปเสียอีก ระวังม๊อบชนม๊อบด้วยนะครับท่าน....

O คนไทยส่วนมากมีลักษณะเป็น Introvert ครับ ทำให้บางคนมีลักษณะที่เจ้านายต้องเข้าไปหาก่อน ซึ่งจะเสียเปรียบคนที่ welcome เจ้านายเสมอ

O สุดท้าย (ขอแค่นี้ก่อน ผมกลัวโดนม๊อบมาขับไล่) คนไทย มัก “ลาม” ครับ (ท่านไม่ต้องเชื่อเหมือนเดิม) ทำดีด้วยมากๆ ไม่ได้ จะตีสนิท แล้วจะ “ขอ/ขอร้อง” ในทางที่ไม่เหมาะสม หรือ Over (เว่อร์) ครับ

3. ด้านผู้บริหารก็โดนกับดักครับ อย่างแรงครับ !!!

คือ...อีกถึงเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ CEO หรือ MD ส่วนใหญ่จะต้องจมอยู่ในกองเอกสารที่จะต้องพิจารณา สั่งการ อนุมัติ ต้องเซ็นเช็ค ต้องดูรายงาน เอกสารกองเป็นภูเขาเลากา ไม่มีเวลาออกจากห้องไปไหน แถมยังต้องเอางานกลับไปทำที่บ้าน อย่างงี้เสร็จ (ไม่ใช่งานเสร็จ แต่..เจ๊งครับ)

ใครๆ (แม้แต่ผู้ถือหุ้น) ก็พูดว่าผู้บริหารระดับสูงต้อง มีวิสัยทัศน์ แต่ถ้าระบบการทำงานเป็นแบบนี้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องใช้เวลา 90% เพื่อ clear เอกสาร งาน Routine และมีเวลาคิดเรื่อง Direction (งานที่ต้องใช้ Creativity) ขององค์กรแค่ 10%

เวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ... ก็ฝืนๆ คิดสร้าง Vision / Direction ขึ้นมา... ก็เลยได้มาแบบฝืนๆ... ไม่ใช่ได้มาแบบ Freshๆ

อันนี้เป็นเพราะวัฒนธรรมไทย(ทางด้านการทำธุรกิจ) ยังเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพครับ คือผู้ถือหุ้นรู้สึกว่าผู้บริหารระดับสูง เงินเดือนสูง ต้องทำงานคุ้มครับ

แต่ทำยังไง เพราะส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นไม่ได้อยู่เฝ้า CEO/MD ก็เลยใช้วิธีโยนความรับผิดชอบให้ “ทุกอย่าง” นะซิครับ คือต้องให้แน่ใจว่า ทำงานตลอด นั่งเฉยๆ นั่งคิดไม่ได้ เพราะมันไม่ชัดเจนว่าทำงาน ต้องให้ sure ว่ามือไม่ว่าง เป็นต้น ถึงจะพอใจ

อ้อ... แล้วจะเอาเวลาที่ไหนไป Wander Around เอ่ย.......

O นอกจากนั้นในประสบการณ์ของผม (ไม่ต้องเชื่ออีกละครับ...) คนไทยส่วนใหญ่ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ส่วนมากเป็นโรค “หูเบา” ครับ ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ จะทำให้ MBWA เป็นเครื่องมือในการ “เล่นการเมือง” ถล่มกัน ป้ายความผิดกันระหว่างพนักงานอย่างสนุกสนาน สะใจ

ดังนั้นการใช้ MBWA (ไม่ใช่ไม่ดี) ต้องใช้ให้เป็นครับ มันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ระดับสูง เพราะต้อง Deal &

Balance กับคนจำนวนมาก ต้องรู้ว่าจะเจอกับอะไรบ้าง และจะจัดการอย่างไร ไม่งั้นจะได้ไม่เท่าเสียครับ

ถึงตอนนี้ท่าน(ที่เห็นด้วยกับผม) อาจบอกว่า อ้าว...แล้วจะเอายังไง (วะ/โว้ย)

*** ผมก็แนะนำให้ใช้ MBWA นี่แหละครับ แต่ ลอง think out of the box ซิครับ ........ออกไปข้างนอกครับ (Wandering Around เหมือนกัน แต่ outside the company) ไปดูตลาด ไปสำรวจคู่แข่ง ไปเยี่ยม Suppliers, Partners, Customers ครับ อันนี้ละครับจะสะท้อนได้อย่างดีเลยว่าลูกน้องเราทำงานอย่างไร เวลาออกไปข้างนอกสำรวจตลาด ถ้าเปลี่ยนเครื่องทรง(ชุด) ซะเลยยิ่งดี จะได้สัมภาษณ์/หลอกถามข้อมูลคู่แข่งได้จะๆ หน่อย ***

Suit อย่าใส่เลยครับมันไม่เหมาะกับเมืองไทยเลย นอกจากธุรกิจที่ต้องใส่ suit

บางครั้งไปเจอเจ้าหน้าที่ของคู่แข่งที่เข้าตา ก็หมายตาแล้วให้ HR ไปพิจารณามาทำงานกับเราซะเลย เห็นมั๊ย....คุ้มเป็นบ้าเลย (แต่ !! ...อย่าไปชวนมาเองนะครับ ให้ผ่านขบวนการ HR ที่ถูกต้อง ไม่งั้นจะเป็นเด็กเส้นของผู้บริหารไปเสียอีก ยิ่งเละไปกันใหญ่... ทุกย่างก้าว ละเอียดอ่อนครับ)

หน้าที่ของ CEO/MD:

ตอนเช้าหัวใสๆ ประชุม สั่งงาน ตามงาน เคลียร์งาน Wander around (in the office)

ตอนบ่าย Wander Around outside ตอนเย็น ไป Refresh / Relax / Exercise… ทำงานที่ CEO / MD ควรจะทำคือ คิดๆๆๆ เพื่อ Visualize company’s direction/strategies/policies… (Excellent ideas always pop up when you are unchained !! )

แต่......ผู้ถือหุ้นจะเข้าใจ และทำใจได้หรือเปล่า ??!!

อย่าลืมว่าโลกเรามีทั้ง Internet และ Mobile Phone แล้ว มันช่วยในการบริหารงานได้อย่างเอกอุ จะไปอุดอู้อยู่ใน office ทำไม ??? (หาอะไร ????)

O.K. ไม่ว่ากันนะครับ เพราะบางท่านเป็นคนที่ชอบอยู่โยงครับ แต่ !! ผมว่าไม่น่าจะเป็น CEO ในกรณีของเรา เพราะ โดยหลักการของ MBWA นี้ CEO/MD ต้องชีพจรลงเท้าครับ

*** ทำในลักษณะ Outside In คือหาข้อมูลข้างนอกก่อน แล้วค่อยกลับมาหาข้อมูลเสริมใน office (ในกรณีของไทย ผมจะยึดข้อมูลข้างนอกเป็นหลัก และข้อมูลภายในเป็นตัวเสริมครับ) ***

การ mouth ใน office ก็ต้องมี แต่ไม่ต้องมากนัก ไม่ต้องทุกวัน แต่ไม่ต่ำกว่า 2-3 วันต่อสัปดาห์ พอเป็นกระสาย ฟังหูไว้ 2 หูครับ คืออย่าเชื่อง่ายๆ ไปสังเคราะห์และหาข้อมูลสนับสนุนก่อนเชื่อ และก่อนเอาข้อมูลไปใช้

Technique ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ อย่ามี “ขาประจำ” ในการ mouth ให้กระจายให้ทั่วถึง ทั้ง “ปริมาณ” และ “คุณภาพ”

ปริมาณ คือ ความทั่วถึงอย่างที่ว่า คุณภาพ คืออย่า “ซี้” กับใครเกินไป จงซี้เท่าๆ กันไม่งั้นคุณจะถูกใช้เป็นเครื่องมือแน่นอนครับ

เอ....... เพลินไปหน่อยครับ ให้ท่านอื่นคุยบ้างดีกว่า

“มันมากกว่านี้ ยังมีมากกว่านั้น” (คำพูดของเพื่อนเก่าของผมคนหนึ่งครับ)

Final words: MBWA ต้องการใช้ข้อมูลจากลูกน้องเพื่อทำธุรกิจ แต่ระวัง ! ลูกน้องของท่านจะใช้ท่านเพื่อเล่นการเมืองในบริษัท !!!!!!

See you later.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget