กลยุทธต่อรอง เพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบ

20 ก.ย. 2553
1. อ้างว่าไม่มีอำนาจตัดสินใจ

2. หากเราไม่ตกลงภายในเวลาจำกัด ผลประโยชน์ที่จะได้ทั้งสองฝ่ายจะไม่เกิดขึ้น
เช่น ในการประชุมผู้ถือหุ้น คนที่มีวาระ ไม่ยอมบอกก่อน แล้วนำไปบอกในวันประชุม ทำให้ดูก้นไม่ละเอียด สุดท้ายก็ต้องอนุมัติให้

3. หากเราไม่ตกลง จะทำให้ทุนที่เราลงไปแล้วมากมายสูญไป

4. ปฏิเสธเราไปแล้ว เช่นการต่อรองราคาสินค้า แต่พอเราไม่เอา อ้างว่ามีข้อยกเว้นให้

5. พูดกดดันว่าเราเป็นฝ่ายผิด ทำให้คนอื่นเดือดร้อนเยอะ เช่น นำนาฬิกาไปซ่อม โดยเขียนกำกับไว้ในใบรับซ่อมว่า ซ่อมห้ามเกิน 800 บาท หากจะซ่อมเกินต้องโทร.มาบอกก่อน แต่พอถึงเวลากลับซ่อมเกินโดยไม่บอกก่อน เมื่อเราไม่ยอมจ่าย กลับพูดว่าเราเป็นคนทำให้ พนง.ทุกคนต้องช่วยกันเฉลี่ยเงินจ่ายส่วนเกินให้ ซึ่งเราไม่ต้องยอม

6. รับปากข้อตกลงแล้ว อ้างลืม กรณีนี้ต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบันทึกเสียง

7. พูดประจานว่าสินค้าเราแพง เพื่อกดดันให้ลดราคาให้ อย่าลด เพราะแสดงว่า เขาสนใจสินค้าเรา

8. คนทำธุรกิจ ที่คิดเอาเปรียบลูกค้า อย่าไปเกรงใจ อย่าไปคิดว่าเขาคือคนไทยเหมือนเรา แต่ให้คิดว่าเขาคือมิจฉาชีพที่โกงเงินเรา ให้ต่อสู้ให้เต็มที่ และอย่าไปเสียเงินให้คนพวกนี้ แม้แต่แดงเดียว

9. เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่นตำรวจ พนักงานสอบสวนที่รับแจ้งความคดีอาญา เทศกิจ เราอย่าไปยอมโอนอ่อนตามคำพูดของเจ้าหน้าที่เหล่านี้ ที่พูดเพื่อปฏิเสธการทำงาน ซึ่งเป็นนิสัยปกติของเจ้าหน้าที่ทั่วไปอยู่แล้ว
เพราะหากไม่เอาจริง เจ้าหน้าที่จะละเลยการทำงาน ทำให้คนชั่วลอยนวล คนทำผิดได้ประโยชน์มหาศาล ต้องขืนไว้ และติดตามเรื่องให้ถึงที่สุด เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสัมฤทธิ์ผลที่สุด บ้านเมืองจะได้เจริญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget