จากบล็อกเกอร์สู่ผู้ทรงอิทธิพลวงการแฟชั่น

24 มี.ค. 2554
15 มีนาคม พ.ศ. 2554

เรื่องราวของ สก๊อต ชูแมน ถ่ายทอดผ่านวิดีโอของอินเทล ในแคมเปญ "วิชวล ไลฟ์" ที่สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ให้คนทั่วโลก

"ผมรู้สึกโชคดีมากที่ได้ใช้ชีวิตแบบ "วิชวล ไลฟ์"...ความสุขที่แท้จริงที่ผมได้รับคือการที่ผมได้ออกไปข้างนอกสัก 4–5 ชั่วโมง เข้าไปอยู่ในโลกที่ทุกคนอยู่ เพื่อเปิดโลกทัศน์ของตัวเอง เชื่อมโยงกับสิ่งที่เห็น และตอบสนองกับสิ่งที่ได้เห็น และสามารถนำมาสร้างสรรค์บล็อกที่ดีเพื่อแบ่งปันกับทุกคนต่อไป"

สก๊อต ชูแมน, The Satorialist

Intel Visual Life : The Satorialist เป็นหนังสั้นความยาว 7 นาที ที่ถ่ายทอดเบื้องหลังของ สก๊อต ชูแมน แฟชั่นบล็อกเกอร์ระดับโลก เจ้าของบล็อก The Satorialist ที่มีผู้เข้าชมอย่างล้นหลามกว่า 70,000 คนต่อวัน หนังสั้นเรื่องนี้ติดตามเบื้องหลังชีวิตจริงของชูแมนในหนึ่งวัน ตั้งแต่เข้าร้านทำผม เดินเล่นในย่านแมนฮัตตัน และเข้าไปพูดคุยกับผู้คนตามถนนเพื่อขอถ่ายรูป อินเทลได้ถ่ายทอดเรื่องราวการใช้ภาพและเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสรรค์และเป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ “วิชวล ไลฟ์” (Visual Life) ของอินเทลที่ใช้ภาพในการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่

สก๊อต ชูแมน เป็นช่างภาพที่เรียนและฝึกฝนการถ่ายภาพด้วยตัวเอง บล็อก The Satorialist (thesartorialist.blogspot.com) ของชูแมนได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ที่ชื่นชอบแฟชั่นทั่วโลก และยังโด่งดังในหมู่บรรณาธิการและคนในวงการแฟชั่นเป็นอย่างมาก ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งสื่อที่มีอิทธิพลต่อการตอบรับแฟชั่นของคนทั่วโลก

ชูแมนริเริ่มการถ่ายภาพแฟชั่นลงบล็อก เขาเริ่มบล็อกครั้งแรกในปี 2005 หลังจากลาออกจากการเป็นเซลล์ของแบรนด์เสื้อผ้าเพื่อมาเลี้ยงดูลูกสาว เขาเริ่มถือกล้องติดตัวไปไหนมาไหนในนิวยอร์ค และถ่ายรูปผู้คนที่มีอะไรบางอย่างที่ดึงดูดสายตาเขา จากนั้นก็โพสต์รูปภาพลงในบล็อก แค่เพียงไม่นาน บล็อก The Sartorialist ก็กลายเป็นบล็อกยอดนิยมของบรรดาผู้ที่ชื่นชอบแฟชั่นและคนในวงการ รูปภาพของชูแมนมีทั้งรูปของแฟชั่นเซเลบริตี้อย่าง คาร์ล เลเกอร์เฟลด์ ไปจนถึงคนเดินถนนทั่วไปทั้งในปารีส นิวเยอร์ค ลอนดอน ฟลอเรนซ์ และมิลาน จากความนิยมที่ชูแมนได้รับ เขาจึงได้รับการติดต่อให้ทำงานกับ style.com และแมกกาซีน GQ ของอเมริกา และยังร่วมงานกับแบรนด์ดังๆ อีกมากมาย อาทิ Saks Fifth Avenue, GAP และBurberry ในปี 2009 The Sartorialist ได้รับการโหวตให้เป็นหนึ่งในผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในวงการดีไซเนอร์จากนิตยสารไทม์ ชูแมนกล่าวว่าเขาอยากจะถ่ายภาพสตรีทแฟชั่นแบบนี้ต่อไปอีก 30 หรือ 40 ปี เขาบอกว่าภาพพวกนี้ "จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากจากนี้ไปอีก 100 ปี" เมื่อรสนิยมและแฟชั่นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

สก๊อต ชูแมน เคยให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ฮันทิงตัน โพสต์ ว่าเขาเริ่มบล็อกด้วยเหตุผลที่ว่า“สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการทำบล็อกรูปภาพคือคุณไม่จำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษ ก็สามารถสนุกกับรูปภาพได้...อาจมีหลายคนที่อยากจะแบ่งปันความเห็นด้านแฟชั่น หรือฝันอยากเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ อยากย้ายไปอยู่ที่นิวยอร์คหรือมิลาน แต่ด้วยเหตุผลทางครอบครัวหลายๆ อย่าง พวกเขาไม่สามารถทำได้อย่างใจคิด และต้องติดอยู่ในวิสคอนซินหรือที่ไหนก็ตาม บล็อกนี้เป็นโอกาสให้พวกเขาได้สัมผัสแฟชั่น เขาสามารถเขียนคอมเมนท์ ติดตามแฟชั่นและแบ่งปันกับคนอื่นๆได้ ปัจจุบันบล็อก The Sartorialist (thesartorialist.blogspot.com) มีผู้เข้าชมกว่า 3 ล้านต่อเดือน และได้กลายมาเป็นบล็อกที่คนในวงการแฟชั่นต้องอ่าน

วิดีโอ Intel Visual Life : The Satorialist ได้สร้างกระแสในโลกไซเบอร์เป็นอย่างมากทั้งทางเว็บไซต์ YouTube และ Social Media ต่างๆ โดยวิดีโอใน YouTube มีผู้ชมกว่า 600,000 ครั้ง และวิดีโอนี้ยังได้รับการแชร์ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย แคมเปญ Visual Life เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัว อินเทล™ คอร์™ โปรเซสเซอร์ เจนเนอเรชั่น 2 ซึ่งเป็นชิปตระกูลล่าสุดที่ช่วยสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างฉลาดล้ำจนผู้ใช้สามารถสัมผัสได้ ไม่ว่าจะใช้คอมพิวเตอร์กับสื่อดิจิตอลต่างๆ เล่นเกม ดูหนัง หรือใช้ทำงานโดยทั่วไป แคมเปญนี้สามารถสื่อสารกับผู้ใช้เทคโนโลยีทั่วโลกได้เป็นอย่างดีด้วยการนำเสนอในรูปแบบของวิดีโอซีรี่ส์หลากหลายเวอร์ชั่นในโลกออนไลน์ วิดีโอแต่ละเรื่องล้วนสร้างกระแสให้เกิดการบอกต่อและแลกเปลี่ยนความเห็นในหมู่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่ได้ชมวิดีโอจากแคมเปญนี้อีกด้วย

เทคโนโลยีทำให้เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นได้

แฟชั่นนิสต้าสามารถรับชมเรื่องราวเบื้องหลังความสำเร็จของ The Sartorialist ได้ทาง www.intel.com/visuallife/ หรือติดตามชมวิดีโอใหม่ๆ และแคมเปญที่น่าสนใจของอินเทลได้ที่ www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget