อุปนิสัยทั้ง 7

22 ธ.ค. 2552
ว่าด้วย นิสัย (Habit)


Stephen R. Covey

Stephen R. Covey หนึ่งใน Quality Guru ที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันและอดีตประธานที่ปรึกษาของประธานาธิบดี Clinton ได้กล่าวถึงอุปนิสัย 7 ประการที่จะช่วยพัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด



อุปนิสัยทั้ง 7 ประการนี้ได้แก่

1. Be proactive ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน

2. Begin with the end in mind เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ

3. Put first things first ทำตามลำดับความสำคัญ

4. Think win / win คิดแบบชนะ / ชนะ

5. Seek first to undersland, then to be understood เข้าใจผู้อื่นก่อนจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา

6. Synergy ประสานพลัง

7. PDCA ลับเลื่อยให้คม

กรอบความคิดและหลักการ (ภาพรวมของอุปนิสัยทั้ง 7)


ก่อน ที่จะอธิบายเกี่ยวกับอุปนิสัยทั้ง 7 ผู้เขียนได้อธิบายให้เราเข้าใจถึง "กรอบความคิด" หรือ Paradigms ของตัวเราเองและดูว่าเราจะสามารถ "เปลี่ยนกรอบความคิด" (Paradigms Shift) นี้ได้อย่างไร เพราะแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่ต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการมองและการ ตีความ เมื่อเข้าใจความหมายของ Paradigms ได้ดีขึ้นและเริ่มเปรียบเทียบกับข้อเท็จจริงและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ก็จะทำให้เรามีโลกทัศน์ที่กว้างไกลกว่าเดิม

ทุกชีวิตเริ่มต้นด้วยการเป็นทารก ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นตลอดเวลา (Dependence)

พอ โตขึ้นก็เริ่มพึ่งพาตนเอง (Independence) มากขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนสามารถดูแลตนเองได้ และพัฒนาจนถึงขั้นมีความคิด และความเชื่อมั่นเป็นของตนเอง

เมื่อ เริ่มเป็นผู้ใหญ่จะตระหนักถึงการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เฉพาะคนที่พึ่งพาตนเองได้แล้วเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้อุปนิสัยที่ 1, 2, 3 จึงเกี่ยวข้องกับการเอาชนะใจตนเอง
คือ เปลี่ยนจากคนที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นไปเป็นคนที่พึ่งพาตนเองหรือ "ชนะใจตนเอง"

เมื่อพึ่งพาตนเองได้ถือว่ามีพื้นฐานสำหรับการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ก็จะสามารถก้าวไปสู่การ "ชนะใจผู้อื่น"

ด้วยการทำงานเป็นทีมและสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลในอุปนิสัยที่ 4, 5, 6

สำหรับอุปนิสัยที่ 7 เป็นอุปนิสัยที่ต้องหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

ชนะใจตนเอง (อุปนิสัยที่ 1-3)

อุปนิสัยที่ 1 ต้องเป็นฝ่าย เริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)

เป็นอุปนิสัยเบื้องต้นที่สำคัญที่สุดของคนที่จะมีประสิทธิผลในทุกสถานการณ์ คำว่า Pro-activity มีความหมายมากกว่าการริเริ่ม

คน ที่ Proactive จะมีความรับผิดชอบดีมาก ไม่ตำหนิสภาพแวดล้อม เงื่อนไขต่าง ๆ หรือข้อจำกัดจากพฤติกรรมของเขา การกระทำของเขาเกิดจากการเลือกของตนเองซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่า มากกว่าผลจากเงื่อนไขหรือความรู้สึกแก่นแท้ของคนที่ Proactive คือความสามารถในการเก็บแรงกระตุ้น การตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นจะเป็นไปอย่างรอบคอบ และผ่านการชั่งใจมาแล้ว ต่างกับคนที่ Reactive หรือเป็นฝ่ายถูกกระทำ มักได้รับผลกระทบจากเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมและเลือกที่จะให้อำนาจเหล่านั้น มาควบคุมตน

อุปนิสัยที่ 2 เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the end in mind)



เริ่ม ต้นด้วยการมองเห็นกรอบความคิดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายสุดท้ายในชีวิตของเรา เพื่อใช้เป็นกรอบอ้างอิง ตรวจสอบทุกอย่างที่ผ่านมาว่าสอดคล้องกับสิ่งที่กำหนดไว้ในใจหรือไม่

โดย ต้องกำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน และพยายามทำทุกอย่างไม่ให้ขัดแย้งกับสิ่งที่เรากำหนดไว้ว่าสำคัญที่สุดและทำ ให้เข้าใกล้เป้าหมายให้มากที่สุด

อุปนิสัย ที่ 2 นี้มีพื้นฐานอยู่บนหลักการของ "ความเป็นผู้นำ" ซึ่งต่างจากการเป็น "ผู้จัดการ" "การจัดการ" เหมือนความสามารถในการไต่บันไดแห่งความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิผล

แต่ "ความเป็นผู้นำ" เหมือนกับการพิจารณาว่าบันไดอันไหนพิงอยู่บนกำแพงที่ถูกต้อง บ่อยครั้งที่เราทำงานหนักเพื่อไต่บันไดแห่งความสำเร็จแต่กลับพบว่าบันไดนั้น พิงผิดที่

วิธีที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในการเริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจก็คือ
การสร้างคำปฏิญญาส่วนตัว (Personal Mission Statement)  โดยต้องเริ่มต้นที่ "ศูนย์รวม" ของขอบเขตที่สามารถทำได้เสียก่อน "ศูนย์รวม" มีหลายแบบ เช่น

"ศูนย์รวม" อยู่ที่คู่ครอง ครอบครัว เงิน ที่ทำงาน การเป็นเจ้าของ ความยินดีและความพอใจ  มิตรหรือศัตรู วัด และตนเอง เป็นต้น

"ศูนย์รวม" นี้จะเป็นแหล่งกำหนดปัจจัยสนับสนุนชีวิต 4 ประการ ได้แก่
ความมั่นคงในจิตใจ (Sevurity),
เครื่องนำทาง (Guidance),
ปัญญา (Wisdom),
และอำนาจ (Power)

ปัจจัยทั้ง 4 นี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกันจึงจะให้ประโยชน์สูงสุด
ความ มั่นคงในจิตใจและเครื่องนำทางที่ชัดเจนนำมาซึ่งปัญญา และปัญญาเป็นตัวจุดประกายให้มีการใช้อำนาจ ผลกระทบในด้านบวกที่จะเกิดกับชีวิตเราขึ้นอยู่กับชนิดของ "ศูนย์รวม" ที่เราเป็นอยู่




อุปนิสัยที่ 3 ทำตามลำดับความสำคัญ (Put first thing first)





การ บริหารงานที่มีประสิทธิผลคือ การทำตามลำดับความสำคัญ ในขณะที่ผู้นำเป็นคนตัดสินใจว่าสิ่งไหนต้องทำก่อน ผู้จัดการจะนำสิ่งนั้นมาไว้เป็นลำดับแรกของการทำงาน การบริหารจัดการก็คือการจัดระเบียบวินัยเพื่อทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จนั่นเอง




อุปนิสัยที่ 3 นี้เกี่ยวข้องกับ "การบริหารเวลา" โดยมีปัจจัย 2 อย่าง
ความ "เร่งด่วน" และ "สำคัญ" ที่เป็นตัวกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เวลาแต่อยู่ที่การ "จัดการกับตัวเอง"

ชนะใจผู้อื่น (อุปนิสัยที่ 4-6)


อุปนิสัยที่ 4 คิดแบบ ชนะ / ชนะ (Think win / win)



แนว คิดแบบชนะ / ชนะ เป็นกรอบของความคิดที่แสวงหาผลประโยชน์ร่วมกัน ข้อตกลงหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์
แนว คิดชนะ / ชนะวางอยู่บนพื้นฐานของกรอบความคิดที่ว่า ยังมีที่ว่างสำหรับทุกคน ความสำเร็จของคนคนหนึ่งไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำให้อีกคนหนึ่งล้มเหลวเสมอ ไป

อุปนิสัยที่ 4 นี้ ต้องอาศัยความเป็นผู้นำอย่างมาก ผู้นำที่ดีนั้นต้องมองการณ์ไกล มีความคิดริเริ่ม กล้าตัดสินใจและมั่นคง นำทางได้ มีภูมิปัญญาและอำนาจซึ่งมาจากการเป็นคนที่เคร่งครัดในระเบียบวินัย

นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงแก่นแท้ของอุปนิสัย 3 อย่างที่จำเป็นต่อ
กรอบความคิดแบบ ชนะ / ชนะ ได้แก่ ความซื่อตรง ความเป็นผู้ใหญ่ และความมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

อุปนิสัยที่ 5 เข้าใจผู้อื่นก่อนจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรา (Seek first to understand, then to be understood)

เป็นกุญแจสำคัญของหลักการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีประสิทธิผล
การติดต่อสื่อสารถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดในชีวิต เราใช้เวลาหลายปีในการเรียนรู้วิธีการอ่าน เขียน และพูด

แต่น้อยคนที่ได้ผ่านการฝึกอบรมเรื่องการฟัง
การฟังในที่นี้หมายถึงการฟังเพื่อแสวงหาความเข้าใจซึ่งมากกว่าการสนใจฟัง

เราต้องฟังด้วยหู ด้วยหัวใจ ด้วยความรู้สึก ด้วยความหมายที่แสดงออกมา
เราฟังถึงพฤติกรรมและใช้สมองด้านซ้ายและขวาไปพร้อมกัน
การรับฟังเพื่อแสวงหาความเข้าใจส่งผลดีอย่างมากเพราะทำให้เราได้ข้อมูลที่ถูกต้อง

อุปนิสัยที่ 6 ประสานพลัง (Synergize)

หมายถึง การนำข้อดีของอุปนิสัยทั้งหมดมารวมเข้าด้วยกันเพื่อทำงานใหญ่ให้สำเร็จ

กุญแจสำคัญของการประสานพลังระหว่างบุคคลนั้นก็คือ  การ ประสานพลังในตัวบุคคลนั่นเอง เป็นการประสานพลังภายในตัวเองโดยการทำให้อุปนิสัยทั้ง 3 ข้อแรกฝังอยู่ในตัวเราให้ได้ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกมั่นคงเพียงพอที่จะรับมือกับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

เมื่อ เรามีหลักการทั้งสามอยู่ในใจแล้ว ก็เหมือนกับเราได้พัฒนาจิตใจที่เอื้อเฟื้อ และมีความคิดแบบ ชนะ / ชนะ อันเป็นพลังของอุปนิสัยที่ 5

ในการสื่อสารแบบประสานพลัง เราต้องเปิดใจ เปิดความคิดให้กว้างและเตรียมความรู้สึกให้ดี พร้อมรับมือกับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นรวมทั้งทางเลือกใหม่และโอกาสใหม่ ซึ่งฟังดูเหมือนกับว่าจะขัดแย้งกับอุปนิสัยที่ 2 (เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ) แต่ในความเป็นจริงเรากำลังทำให้มันสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่างหาก





อุปนิสัยที่ 7 ลับเลื่อยให้คม (Sharpen the saw)

เป็น หลักการปรับตัวใหม่ให้สมดุลซึ่งทำให้อุปนิสัยที่เหลือทั้งหมดทำงานได้ผล เปรียบเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ช่วยรักษาและเพิ่มคุณค่าที่มี อยู่ในตัวให้มากขึ้น เป็นการปรับเปลี่ยนของสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราโดยธรรมชาติ 4 อย่าง ได้แก่ ร่างกาย จิตวิญญาณ สติปัญญา และความรู้สึกที่มีต่อสังคม

คำ ว่า "ลับเลื่อยให้คม" หมายถึง การแสดงให้เห็นถึงพลังขับดันทั้ง 4 อย่าง และการฝึกหัดใช้พลังทั้ง 4 ที่มีอยู่ในตัวเราอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมออย่างฉลาดและสมดุลย์ ซึ่งจะทำได้ก็ต้องเป็นคนที่ชอบลงมือก่อน

ในขณะที่ภาคร่างกาย สติปัญญา และใจเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอุปนิสัยที่ 1, 2 และ 3 ซึ่งมีศูนย์รวมเน้นไปที่วิสัยทัศน์ส่วนตัว ความเป็นผู้นำ และการจัดการ

แต่ทางภาคสังคมและอารมณ์จะเน้นไปที่อุปนิสัยที่ 4, 5 และ 6 ซึ่งมีศูนย์รวมที่เน้นไปที่การติดต่อระหว่างบุคคลของการเป็นผู้นำ การติดต่อสื่อสาร และการร่วมมือกันสร้างสรรค์

ดังนั้นการที่จะประสบความสำเร็จในอุปนิสัยที่ 4, 5 และ 6 นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของสติปัญญาแต่เป็นเรื่องของอารมณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

Recent Comments Widget